วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับ 4 ประการในการป้อนอาหารเด็กวัยหัดเดิน

เคล็ดลับ 4 ประการในการป้อนอาหารเด็กวัยหัดเดิน

จากการสำรวจในโครงการ The Feeding Infants and Toddlers Study (FITS) เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
เรื่องพฤติกรรมการทานอาหารของเด็กวัยหัดเดินให้มากขึ้น การที่ได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วเด็กทานอะไร ก็สอนเรา
ได้มากขึ้นด้วยว่าควรเตรียมอะไรให้เด็กบ้าง ลองทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ดู
1. ฉลาดเลือกอาหาร
พอลูกน้อยเริ่มหย่านมแม่ หรือนมผง ก็จะเริ่มมีช่องว่างทางโภชนาการเป็นธรรมดา จึงสำคัญมากที่คุณแม่
จะเลือกอาหารอย่างไรให้ลูก ควรเน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อยที่สุด เนื้อไร้มัน
และผลิตภัณฑ์จากนม เหล่านี้ให้มากหน่อย เนื่องจากเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารจำเป็นต่อการ
เจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก
2. ฉลาดเลือกของว่าง
โดยปกติ เด็กจะรับแคลอรี่ในปริมาณ 25% จากอาหารว่าง ดังนั้น ทุกคำที่ลูกน้อยทานก็มีความหมาย
ควรให้ลูกทานผักและผลไม้เยอะๆ ส่วนอาหารบางจำพวกที่มีแคลอรี่สูง แต่คุณค่าทางโภชนาการต่ำ
(มันฝรั่งทอด คุกกี้ น้ำดื่มที่มีปริมาณส่วนผสมของน้ำตาลเยอะ) นั้น ให้ทานเป็นครั้งคราวก็พอ

3. ดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์
เครื่องดื่มต่าง ๆ มีความสำคัญต่อการคงสภาพความชุ่มชื้น แต่การดื่มน้ำมากเกินไป จะทำให้ลูกน้อย
รู้สึกอิ่มจนไม่อยากทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรจำกัดปริมาณนมอยู่ที่วันละ 2 ถ้วย ควรให้ลูก
ดื่มน้ำ และน้ำผลไม้ 100%ต่อหนึ่งหน่วย 1 ในปริมาณ 4-6 ออนซ์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานจาก
น้ำตาลหรือน้ำตาลเทียม

4. เลือกทานแต่ไขมันดี
ไขมันที่มีประโยชน์มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองของเด็ก จากการศึกษา
พบว่าเด็กวัยหัดเดินจำนวน 1 ใน 3 จะได้รับกรดอัลฟา ไลโนเลนิก โอเมก้า 3 ไม่เพียงพอ และยังมีเด็ก
อีกมากที่ขาดวิตามินอี แอนตี้อ๊อกซิแดนท์ซึ่งพบมากในไขมัน คุณแม่อาจจะลองผสมน้ำมันถั่วเหลือง
หรือน้ำมันที่ได้จากการสกัดเมล็ดคาโนลา ลงไปในอาหารที่เตรียมให้ลูก แต่ควรเลี่ยงอาหารที่มี
ทรานส์แฟต (Transfat หรือไขมันอันตรายที่ทำจากไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเพื่อให้เป็นไขมันที่คงตัว
ในอาหารสำเร็จรูป และสามารถเก็บไว้ได้นานๆ)

1การเลือกผักและผลไม้ให้กับเด็กวัยหัดเดิน ในหนึ่งหน่วยนั้น ส่วนหนึ่งควรจะมาจาก น้ำผลไม้
100% ในปริมาณ 4 ออนซ์ และส่วนที่เหลือ ควรจะมาจากน้ำสกัดเข้มข้นจากผลไม้ที่ปอกเปลือกแล้ว

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี
ว่ากันว่าเด็กที่ได้ฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จะทําให้คลอดออกมาแล้วเป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย แต่ที่จริงแล้ว เพลงและเสียงดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กในทุกช่วงวัยทั้งตอนอยู่ในท้องแม่หรือเมื่อคลอดออกมาแล้ว คุณแม่จึงควรเลือกดนตรีที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกน้อยด้วยค่ะ
 
เสียงดนตรีตามวัย
เสียงดนตรีที่ลูกน้อยควรได้รับฟังในแต่ละช่วงวัยนั้น ควรเป็นไปตามอายุที่โตขึ้นของลูกน้อย เพราะยิ่งลูกโตขึ้นการรับรู้และระบบประสาทของลูกน้อยก็จะสามารถฟังเพลงที่ซับซ้อนและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพลงเหล่านั้นได้มากยิ่งขึ้น
• วัย 1-3 เดือน ลูกจะชอบฟังเพลงสบายๆ ช้าๆ หรือเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งการฟังเพลงกล่อมจากแม่หรือเสียงที่มีความนุ่มนวล อ่อนโยน จะทําให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ในวัยนี้ลูกจะเริ่มมองหาที่มาของเสียงที่ได้ยิน แสดงความชอบใจและเริ่มเปล่งเสียงตอบสนองในลําคอได้
• วัย 4-5 เดือน ลูกเรียนรู้จังหวะได้มากขึ้น ตอบสนอง ต่อจังหวะและทํานอง เมื่อได้ยินจังหวะที่ชื่นชอบจะยิ้ม ตีมือชอบใจ หรืออาจส่ายหัวตามจังหวะเพลง คุณแม่จึงควรเลือกเพลงหรือดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนานให้ลูกฟัง
• วัย  6-12 เดือน ในวัยนี้ลูกมีพัฒนาการทางภาษามากขึ้นและเริ่มออกเสียงเป็นพยางค์ได้บ้างแล้ว คุณแม่อาจเลือกเพลงที่เป็นคําคล้องจองง่ายๆ ให้ลูกฟัง ซึ่งการให้ลูกฟังเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ ง่ายๆ ลูกจะพยายามส่งเสียงเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน และแสดงท่าทางต่างๆ ตามเพลง เช่น ผงกศีรษะ โน้มตัวไปมา
• วัย 1-3 ขวบ การให้ลูกฟังเพลงหรือดนตรีที่มีความซับซ้อนจะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองของลูกให้เกิดการจัดเรียงตัวและเกิดความคิดสร้างสรรค์ คุณแม่ควรให้ลูกฟังเพลงที่มีทั้งท่วงทํานองและเนื้อร้องที่หลากหลาย ให้ลูกร้องเพลงและเคาะจังหวะตามไปด้วย จะช่วยเพิ่มทักษะทั้งด้านภาษา การทรงตัวของลูกน้อยนอกเหนือจากการฟังด้วย

เสริมพัฒนาการด้วยเสียงดนตรี
• คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้รับฟังดนตรีหลากหลายประเภท แล้วสังเกตว่าลูกชอบฟังดนตรีแบบไหนมากที่สุด
• ร้องหรือฮัมเพลงให้ลูกฟัง เพราะเด็กจะชอบฟังเสียงของพ่อแม่หรือเสียงของมนุษย์ และเมื่อลูกเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างแล้ว ให้พยายามกระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหวตามจังหวะ เช่น โยกตัว ปรบมือ หรือผงกศีรษะ ซึ่งการมีกิจกรรมร่วมไปกับการฟังดนตรีจะยิ่งดีต่อพัฒนาการของเด็กมากขึ้น
• เด็กจะชอบฟังเพลงซ้ำๆ คุณแม่อาจร้องเพลงนั้นให้ฟังบ่อยๆ หรือจะเปลี่ยนเนื้อเพลงไปบ้าง เพื่อให้ลูกรู้สึกแปลกใหม่อยู่เสมอ
• เลือกเพลงที่มีจังหวะช้าๆ เปิดเพลงให้ลูกฟังในช่วงก่อนนอนหรืองีบหลับ เสียงเพลงจะช่วยทําให้ลูกรู้สึกสงบและหลับสบาย
• อย่าเปิดเพลงเสียงดังเกินไปเพราะประสาทการรับเสียงของลูกจะถูกทําลาย
 
ขอบคุณ : น้องกะทิ-ด.ช.ศักดินันท์ ปฏิภาณญาณกิตติ

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมองของลูก ทำงานตั้งแต่แรกเกิด

baby
          รับรู้ความรู้สึก การทำงานของสมองทำให้เรารับรู้การสัมผัสในลักษณะต่าง ๆ สัมผัสอย่างเบา ๆ หรือสัมผัสอย่างรุนแรง ความรู้สึกอุณหภูมิร้อนเย็น หรือความรู้สึกจากร่างกายและใบหน้าทางซีกซ้าย

          ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในทารกแรกเกิด 1-2 เดือนการทำงานพื้นฐานของกล้ามเนื้อจะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ จะไม่ไขว่คว้าของเล่นแต่จะเคลื่อนไหวแขน ขา มือ เท้า ซึ่งเป็นการทำงานของสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และสมองส่วนเบซาลแกงเกลีย เมื่อเด็กโตขึ้นสมองส่วนหลังของฟรอนทอลโลบที่ติดกับพาราทอลโลบ จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกายให้เป็นไปอย่างมีวัตถุประสงค์และสัมพันธ์กับการเห็น เช่น สั่งให้ยกมือขึ้นไปจับของเล่น เป็นต้น

          การมองเห็น การทำงานของสมองส่วนนี้อาศัยการมองเห็นภาพและนำไปสู่สมองด้วยเส้นประสาทตา ต่อจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็นหรือออกซิปิทอลโลบ ซึ่งอยู่ด้านหลังของสมองใหญ่จะพัฒนาโครงสร้างที่จะตอบรับภาพและแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย แต่ถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาเป็นภาพที่เกี่ยวกับอารมณ์ สมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์หรือลิมบิกเบรนก็จะทำหน้าที่ หรือถ้าเป็นภาพที่ค่อนข้างจะคงที่และสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่สายตาโดยตรงก็จะทำงานโดยสมองอีกส่วนหนึ่งคือ อาร์เบรน

          การได้ยิน สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินคือเทมเพอราลโลบ สามารถตอบสนองต่อคลื่นเสียงต่างๆ ที่เข้ามาถึงตัวเราด้วยการอาศัยความช่วยเหลือจากนีโอคอร์เทกซ์ แปลคลื่นเสียงออกมาโดยตรง จากการวิจัยพบว่าเด็กที่มีแม่หรือพี่เลี้ยงพูดเก่ง มีแนวโน้มว่าเด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ได้มากกว่าเด็กที่มีแม่หรือพี่เลี้ยงที่พูดไม่เก่ง เนื่องจากเซลล์ประสาทในสมองส่วนนี้ได้รับข้อมูลและมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อมูลที่ได้รับต้องเป็นเสียงที่มีความหมาย เด็กจะรับจากภายนอกแล้วเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าในเซลล์ประสาทเก็บไว้เป็นข้อมูล

          การได้กลิ่น เด็กแรกเกิดสามารถแยกแยะความแตกต่างของกลิ่นนมแม่ตัวเองกับแม่คนอื่นได้ กลิ่นจะเข้าไปในสมองโดยผ่านเส้นประสาทโอลแฟกตอรี่(olfactory nerve)ไปที่สมองส่วนหน้าฟรอนทอลโลบ ซึ่งเป็นสมองส่วนเดียวกับที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์

          ระบบประสาทอัตโนมัติ สมองยังทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วยประสาท 2 ส่วนที่เรียกว่า ซิมพเทติก(Sympathetic)และพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และ ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย

          สิ่งสำคัญที่สุดในการเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่อยู่ที่การให้ประสบการณ์ที่ดีในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิตเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก เพราะสมองของเด็กตั้งแต่หลังคลอดจะมีน้ำหนักเกือบเท่าสมองของผู้ใหญ่ พ่อแม่มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการของสมองในเด็กได้ถ้าเขาได้รับสิ่งที่ดี เช่น การสัมผัสที่อ่อนโยน การโอบกอด ป้อนนม การพูดคุย อ่านนิทาน เรื่องโปรดให้เด็กฟัง ทุกสิ่งที่ได้ทำนั้นจะช่วยให้สมองของเด็กมีการพัฒนาการไปอย่างรวดเร็วมาก

          ในทางตรงกันข้าม ถ้าในช่วงวัยเด็กเล็กนี้เด็กได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม เช่น อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี มีการพูดคุยด้วยคำที่ไม่สุภาพ หรือพ่อแม่ระบายอารมณ์กับเด็กบ่อยๆ ย่อมทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้น ขาดความอบอุ่น และพยายามแสวงหาสิ่งอื่นมาทดแทนตอนโตต่อไป ซึ่งอาจจะทำให้กลายเป็นเด็กก้าวร้าวในอนาคตได้ค่ะ

          อย่าลืมว่าเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้านะคะ เพราะฉะนั้นมาดูแลสมองของลูกให้ได้เรียนรู้แต่สิ่งที่ดีตั้งแต่เล็กกันเถอะค่ะ


"สมอง"ของลูกทำงานตั้งแต่แรกเกิด  (รักลุก)


          สมอง จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะสมองมีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ พฤติกรรมและอีกหลาย ๆ อย่าง สมองของคนเราทำงานโดยเครือข่ายเส้นใยประสาทของกลุ่มเซลล์ประสาท การทำงานในกลุ่มเซลล์ประสาทแต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกัน ลองมาดูบทบาทหน้าที่ของสมองกันบ้างนะคะ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษวัย 0-3 ปี

ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษวัย 0-3ปี
ของเล่นหรือการเล่น มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะนำไปสู่กระบวน การเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดั้งนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ได้เข้าใจ และสามารถนำของเล่น หรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก จะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดี และเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถ นำประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ กับการเรียนรู้ในอนาคตได้ อย่างมีคุณภาพ
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-3 ปี
เด็กวัยนี้เรียนรู้ผ่านการเล่น และเรียนรู้ผ่านทางการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส ในวัยนี้เด็กมักชอบนำของทุกชนิดเข้าปาก โดยใช้ปากในการสำรวจของนั้นๆ ทั้งดูด เลีย อม พ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะเหล่านี้ โดยหาของเล่นที่มีขนาดเหมาะมือ น้ำหนักเบา ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลอดภัย ล้างทำความสะอาดง่าย เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะ ในการใช้มือและตาประสานกัน ในการคว้าจับ เขย่า เอาเข้าปาก พ่อ แม่หรือผู้เลี้ยงดู ไม่ควรดึงมือหรือของเล่นออกจากปากเด็ก เพราะจะทำให้เด็กหงุดหงิด อารมณ์เสีย และขาดโอกาสในการใช้ปากสำรวจเพื่อการเรียนรู้ และที่สำคัญพ่อแม่ควรพูดคุย และมีปฎิสัมพันธ์กับลูก ขณะชี้ชวนให้ลูกเล่นอีกด้วย
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำเป็นต้องกระตุ้น การเรียนรู้ของเด็กในทุกด้าน ไม่ว่าจะกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องกระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการใช้ของเล่นที่มีความหลากหลายเพื่อสร้างทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงปัญหา ความต้องการและระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละรายด้วย3
ถึงแม้ว่าพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุก็ตาม แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ไม่เหมือนกับเด็กปกติ เด็กพิเศษเหล่านี้ก็สามารถ พัฒนาศักยภาพของตนได้ และอาจจะมีพฤติกรรมของพัฒนาการ ที่แตกต่างกันออกไปตามปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น เด็กบางคนอาจคืบ แต่ไม่คลาน แต่จะนั่งและยืน เดินเลย บางคนอาจรู้จัก ไขว่คว้าของเล่น ในทิศทางต่างๆ กัน ชอบเอาของเล่นเข้าปาก แต่บางคนก็ทำไม่ได้
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเหลือ ฟื้นฟูศักยภาพของเด็กให้เต็มที่ โดยอาจนำของเล่นให้เด็กได้จับสัมผัส หรือกกระตุ้นให้เด็กได้มีโอกาสนำของเล่น / วัสดุต่าง ๆ เข้าปาก เพื่อ กัด, ย้ำ ,เลียเล่น ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นการเรียนรู้ของเด็ก โดยการใช้ปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ในการสัมผัสวัตถุ / ของเล่น การใช้ตา และมือประสานงานกัน สามารถจับวัตถุ / ของเล่น เข้าปาก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และได้เรียนรู้การสัมผัสพื้นผิว ที่แตกต่างกันของวัตถุ จากการจับ , กัด , ดูด หรือเลีย
พ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางท่าน อาจไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ จึงจำกัด หรือห้ามปราม ไม่ให้เด็กเอาของเข้าปาก อาจเพราะกลัวสกปรกหรือสำลัก ซึ่งจะทำให้เด็กหงุดหงิด , อารมณ์เสีย และไม่เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรเข้าใจ ในพฤติกรรมของเด็ก และส่งเสริมการเรียนทักษะเหล่านี้ ให้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งดูแลเรื่องความปลอดภัย ในการเล่นของลูก โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่น ควรที่จะมีขนาดใหญ่ สีสันปลอดภัย จับ / กำถนัดมือ สามารถให้เด็กได้สัมผัสผ่านการกัด , ดูด , เลียได้ ขนาดและน้ำหนัก ต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน สามารถล้าง / ซัก อุปกรณ์ของเล่นได้ เมื่อสกปรก ตลอดทั้งพ่อแม่ ควรมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ระหว่างการเล่นอีกด้วย อย่าปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียว เพราะเด็กยังไม่รู้จักว่าของเล่นแต่ละชิ้น มีวิธีการเล่นอย่างไร
ความหมายของการเล่น
การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้ การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วย
ประโยชน์ของการเล่น
1.ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน
2.ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
4.ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์
5.ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
6.ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอย ความยืดหยุ่น (flexibility)
7.ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
8.ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
9.ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมุติ
10.ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิ
การเลือกของเล่น ให้เหมาะกับความสามารถของเด็ก ในแต่ละวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กเป็นอย่างมาก พ่อแม่ หรือผู้ดูแล จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกสรรของเล่น และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อเด็ก ให้เกิดศักยภาพในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึง
1.ความปลอดภัย
2.ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก
3.ความสนใจของเด็ก
4.ความสะอาด
5.ความเหมาะสมของราคา
6.วิธีการเล่น
อุปกรณ์ของเล่นและเกมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษวัย0-1ปี
อ้างอิงจาก:www.google.com/www.clinicdek.com

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการทางสติปัญญาของลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 2 ปี

พัฒนาการทางสติปัญญาของลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 2 ปี article
       
         ลูกถือได้ว่าเป็นเด็กนักเรียนที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะพึงเจอ  เขาจะตั้งอกตั้งใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากคุณมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันโดยไม่มีขอบเขตใดมาจำกัดความกระหายใคร่รู้ของเขา และเขาก็ตอบสนองเป็นอย่างดีต่อสิ่งที่คุณพยายามจะให้ เพราะเขาอยากให้คุณรู้สึกพอใจ ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้คงทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นกับการที่ได้สอนเขาด้วยเช่นกัน ทารกต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องนับตั้งแต่เขาลืมตาดูโลก โปรดอย่าลืมว่าทารกมีประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประเภท และเขาก็อยากเรียนรู้ให้ครบทารกมีความกระตือรือร้นอย่างสูงที่จะได้เจอะเจอ กับภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัสใหม่ และเขาไม่เคยเด็กเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เพียงแต่คุณต้องดัดแปลงวิธีและเนื้อหาของสิ่งที่จะสอนให้เหมาะกับวัยของเขา เท่านั้น ไม่ควรให้เด็กทำสิ่งที่ยากเกินอายุ เพราะจะทำให้เขาเครียดสูญเสียความมั่นใจในตนเอง และอาจรู้สึกไม่ดีกับคุณในที่สุด ควรช่วยเขาเปิดโลกทัศน์ แต่ไม่บังคับให้เขาทำในสิ่งที่คุณต้องการ คุณแม่ควรสังเกตลักษณะเฉพาะของลูก และเปิดโอกาสให้เขาแสวงหาอย่างเต็มที่
การเรียนรู้ 0-1 ขวบ

อย่าปล่อยให้ช่วย 6 สัปดาห์แรกในชีวิตของลูกคุณผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หลายๆ คนมีความคิดผิดๆ ว่าการที่ทารกไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่ค่อยส่งเสียงรบกวน อันที่จริงการขาดสิ่งเร้า (เสียง ภาพ สัมผัส) จะทำให้เขาไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งไม่สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆ แล้วพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาของทารกเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของชีวิต เช่นเดียวกับการเติบโตทางกายด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าร่างกายเติบโตขึ้น เช่น น้ำหนักมากขึ้น หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มทำงานประสานกันมากขึ้น
บุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตของทารก คือคนที่ดูแลเขามากที่สุด ซึ่งผู้ที่ทำกิจกรรมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคุณแม่ ดังนั้นคุณจึงถือเป็นครูคนสำคัญที่สุดในชีวิตลูก เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ เราจะเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุด และจดจำสิ่งที่เรียนได้มากที่สุด หากสิ่งนั้นถูกถ่ายทอดจากผู้ที่เราชื่นชอบและสื่อสารกันได้ดี ยิ่งถ้าเรามีความรู้สึกใกล้ชิดและเข้าใจกันและกันกับผู้ที่สอนเราด้วยแล้วก็ ยิ่งซาบซึ้งกับสิ่งที่เรียนและจดจำไปได้นานแสนนาน สิ่งที่เกิดขึ้นกับทารกก็ไม่ต่างไปจากนี้ทารกจะสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและ เร็วขึ้นหากเขาเกิดความรู้สึกผูกพันกับครูคนแรกตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต นอกจากคุณแล้ว ผู้ที่จะสนิทสนมกับลูกมากเป็นลำดับต่อไปก็คือสามีของคุณ กล่าวได้ว่าผู้เป็นพ่อและแม่ควรสร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นกับทารกให้เร็ว ที่สุดเท่าที่จะทำได้และช่วยสอนให้เขารู้จักสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้
สิ่งที่คุณสอนให้กับลูกไม่จำเป็นต้องมีแบบแผน มีกฎเกณฑ์หรือมีเป้าหมายใดๆ ตายตัว ว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ แต่คุณควรสอนให้ลูกรู้สึกสนใจใคร่รู้ในสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้เขาได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ อธิบายทุกอย่างที่เห็น และให้เขาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคุณ คุณควรคอยกระตุ้นและสนับสนุนเขาตลอดเวลา ชมเชยลูกแม้ว่าสิ่งที่เขาทำสำเร็จจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยคอยเป็นกำลังใจ เมื่อลูกล้มเหลวผิดพลาดหากไม่มีคุณคอยอยู่เคียงข้างเด็กจะขาดความมั่นใจไป
ลูกของคุณเข้าใจอะไรได้บ้าง
ทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้ เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์ ถ้า หากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ : ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ : ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน : ทารก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน : ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้น
อายุ 5 เดือน : ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน : ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน : ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้
อายุ 9 เดือน : ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้ เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน : ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน : ทารก จะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
อายุ 12 เดือน : เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น เด็กจะเริ่มรู้จักคำสั้นๆ ง่ายๆ เช่น ขวดนม อาบน้ำ ลูกบอล ดื่มน้ำ ถึงอายุนี้ลูกควรพูดคำแรกได้แล้ว
การมองลูก
คุณควรเอาหน้าเข้าไปจ่อใกล้ๆ ลูกให้เขาได้เห็นคุณตั้งแต่ช่วง 2-3 วันแรก การที่แม่และลูกได้ส่งสายตามองกันและกันเป็นสิ่งสำคัญมาก หนึ่งในสิ่งที่ทารกมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยตั้งแต่วันแรกในชีวิต คือ ใบหน้าของมนุษย์ ทารกเกิดใหม่จะเห็นสิ่งที่เข้ามาใกล้ในระยะ 20-25 เซนติเมตรเท่านั้น คุณจึงควรขยับตัวเข้าไปใกล้ๆ เขา และทำอะไรบางอย่าง เพื่อดึงความสนใจของทารกมาที่ใบหน้าคุณ เช่น ขยับศีรษะพูด เลิกคิ้ว และที่สำคัญคือยิ้มตลอดเวลาและสบตาลูก จากการศึกษาพบว่าแม่ที่จ้องมองใบหน้าของลูก สบตาลูก ขณะที่ป้อนนมหรือเล่นกับเขา มีแนวโน้มที่จะไม่ใช้วิธีตีลูกเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น และลูกที่มีแม่เช่นนั้นมักจะรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีเมื่อ เขาโตขึ้นในอนาคต นั่นคือ สร้างฐานอีคิวที่ดีนั่นเอง

การพูดคุยกับลูก
ทารกจะสื่อสารกับคุณครั้งแรกด้วยการใช้รอยยิ้มวิธีที่คุณใช้พูดคุยกับลูกอาจ เป็นดังนี้คุณยื่นหน้าเข้าไปใกล้ๆ ลูกระยะประมาณ 20-25 เซนติเมตร จากใบหน้าของเขาแล้วพูดคุยเรื่องอะไรก็ได้ให้ลูกฟังด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ทารกจะเห็นว่าคุณมีท่าทีเป็นมิตร ทารกทุกคนมีสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ที่จะตอบกลับด้วยความเป็นมิตรเช่นกัน ดังนั้นเขาจึงยิ้มตอบ คุณรู้สึกดีใจที่เขายิ้มให้จึงยิ่งยิ้มให้เขามากกว่าเดิมอีก คุณอาจหัวเราะโอบกอดและหอมแก้มเขา ทารกชอบสิ่งเหล่านี้ เขาจึงยิ้มอีกเพื่อทำให้คุณพอใจ แล้วคุณก็ยิ่งพยายามทำให้เขามีความสุขมากกว่าเดิมอีก วนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างนี้
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และทารกก็คือ ทารกได้เรียนรู้ข้อเท็จจริง 2 ประการ ประการแรกเมื่อเขาส่งยิ้มไป ก็จะได้รับยิ้มตอบ และบางทีอาจได้คืนมากกว่านั้นอีก เช่น ได้คำชม มีคนกอดเขาตอบ ประการที่สอง คือ ทารกได้เรียนรู้วิธีทำให้คุณพอใจและวิธีสร้างความสัมพันธ์กับคุณ เขาได้รู้ว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการนี้ได้อย่างไร และจะนำวิธีนี้ไปใช้กับคนอื่นๆ ด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าทารกที่ยิ้มเก่งคือทารกที่ฉลาดเพราะพฤติกรรมนี้แสดงให้ เห็นว่าทารกได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง คือ ถ้าเขายิ้มใครต่อใครก็จะชอบเขา และชีวิตจะมีความสุขยิ่งขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรช่วยให้ลูกได้มีจุดเริ่มต้นที่ดีในการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกที่อยู่ รอบๆ ตัวเขา
การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
เด็กๆ ชอบหนังสือ และชอบดูหนังสือตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพ่อหรือแม่พลิกหนังสือไปทีละหน้าพร้อมๆ กับเขาและอ่านข้อความในหนังสือให้ฟังดังๆ การที่ได้อ่านหนังสือด้วยกัน เป็นโอกาสที่คุณจะได้สอนลูกเกี่ยวกับเรื่องสี ตัวหนังสือและสำหรับเขาน้ำเสียงของคุณก็ช่างอ่อนโยนน่าฟังเหลือเกินในที่สุด คุณอาจจะพบว่าการอ่านหนังสือก่อนนอนพร้อมกับลูกเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก และช่วยผ่อนคลายจิตใจหลังจากที่ผ่านอะไรๆ มาทั้งวัน ที่ดีไปกว่านั้น คือ ในภายหลังลูกอาจจะอยากดูหรืออ่านหนังสือเองโดยลำพัง ซึ่งนอกเหนือจากจะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เขาในช่วงนี้แล้ว ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่เขาจะหาความสุขได้ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของชีวิตอีก ด้วย การที่ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากหนังสือตั้งแต่วัยเยาว์นั้นนับเป็นสิ่งที่ประมาณค่าไม่ได้ ยังเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะไม่ทำให้ลูกไปติดทีวีเมื่อโตขึ้น
ขอแนะนำให้คุณเริ่มจากการซื้อหนังสือปกแข็งที่ทนทาน และข้างในมีรูปภาพสีสันสดใสให้ลูกก่อน ถ้าอยากให้มีอะไรแปลกๆ ให้ลูกบ้าง ก็ควรซื้อหนังสือที่เมื่อกางออกมาแล้ว มีภาพต่างๆ ตั้งขึ้นมาในลักษณะ 3 มิติแต่คุณต้องทำใจไว้ก่อนล่วงหน้า ว่าลูกจะยังไม่รู้จักการถนอมหนังสือพวกนี้เพราะเขายังเด็ก
ช่วงเรียนรู้ได้รวดเร็ว
อัตราการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคงที่ บางช่วงพวกเขาจะมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ในช่วงดังกล่าวเด็กจะมีความคิด ทักษะใหม่ๆ อยากรู้อยากลองทำไปเสียทุกอย่าง อย่างไรก็ดี อาจเกิดกรณีเรียนรู้ของใหม่และลืมของเก่าไปบ้างขออย่าได้วิตกกังวล เพราะการหลงลืมนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เด็กจะต้องใช้สมาธิมากในการเรียนรู้ทักษะใหม่เมื่อเขาเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ แล้วความรู้ความสามารถเดิมๆ ที่จะหายไปจะกลับมา
ช่วงที่เด็กมีพัฒนาการรวดเร็ว ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะชักนำให้เขาพบกับสิ่งใหม่ๆ เพื่อเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ ในช่วงที่สติปัญญาของเขามีความพร้อมอย่างเต็มที่และในเวลาเดียวกัน หากเด็กมีกิจกรรมที่เขาโปรดปราน ก็ควรให้โอกาสเขาทำสิ่งเหล่านี้บ่อยๆ ด้วย พ่อแม่ไม่ควรไปจำกัดโลกทัศน์และประสบการณ์ของเด็ก โดยการเป็นผู้เลือกสิ่งต่างๆ ให้เขามากจนเกินไป ควรปล่อยให้ลูกได้เห็นอะไรกว้างๆ และให้เขาเป็นผู้เลือกเองว่าชอบอะไร แล้วเรียนรู้ในสิ่งที่เขาพอใจ
หลังจากช่วงที่เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วผ่านไป

การ เรียนรู้ของเขาจะเริ่มช้าลงขอให้ใช้ช่วงเวลานี้เป็นเสมือนการหยุดพักทบทวน สิ่งที่เรียนรู้มาและเตรียมให้เด็กก้าวเข้าสู่ช่วงการมีพัฒนาการอย่างรวด เร็วในครั้งต่อไปสิ่งที่คุณควรทำคือฝ่ายช่วยเขาทบทวนทักษะต่างๆ โดยอาจชวนให้ลูก “ร้องเพลงที่เคยร้องกันอีกครั้ง” หรือ “ลองมาเล่นจับตัวหมุดลอดลงรูกันอีกครั้ง”
ปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำ
ครูที่ดีคือครูที่คอยแนะแนวทางให้เราพัฒนาตัวเองและใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้ มากที่สุดโดยเน้นจุดดีและลบจุดด้อยที่มีอยู่ เมื่อคุณเป็นครูของลูกคุณก็ต้องพยายามดึงจุดเด่นของเขาออกมาใช้ให้มากที่สุด และช่วยพัฒนาจุดด้อยของเขาให้ดีขึ้น คุณมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือลูกเมื่อเขาต้องการ โปรดจำไว้ว่าการให้ความช่วยเหลือจะไม่มีคุณค่าใดๆ เลยหากผู้ที่ถูกช่วยเหลือไม่ต้องการหรือไม่ชอบที่คุณทำเช่นนั้นคุณจึงต้อง ช่วยลูกให้ถูกวิธี และไม่ล้ำเส้นจนกลายเป็นการบงการเขา เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งที่เขาสนใจ ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการให้เขาสนใจ ดังนั้นคุณจึงควรปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำว่าเขาต้องการจะไปในทิศทางไหน เปรียบเทียบง่ายๆก็คือคุณหยิบเมนูอาหารส่งให้ลูก แต่ปล่อยให้เขาเลือกอาหารที่ต้องการรับประทานด้วยตนเอง
 
การเรียนรู้ 1-2 ขวบ
ในช่วงขวบปีแรก ทารกจะเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการควบคุม และการฝึกใช้ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเรียนรู้วิธีคลาน วิธียืน และการก้าวเท้าซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็คือการเริ่มพึ่งพาตนเองได้เด็กสามารถจะ เดินมาสำรวจโลกของเขาได้เองโดยไม่ต้องรอให้คุณพาเขาไป เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 2 จะเป็นช่วงที่เขาฝึกฝนทักษะการควบคุมร่างกายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ บริเวณมือ ใบหน้า รวมทั้งจะมีการพัฒนาด้านสติปัญญาครั้งสำคัญ
คือเด็ก สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขาคิดออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มี ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาให้ คุณได้รับรู้ และเมื่อถึงจุดนี้ทารกจะรู้สึกว่าเขาสามารถเป็นใครอีกคนหนึ่งที่แยกจากคุณ ได้ เขาเริ่มตระหนักถึงตัวตนของเขาเอง และเมื่อทารกถึงช่วงเวลานี้เขาจะหงุดหงิดมากมักร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง เพราะอยู่ระหว่างความไม่แน่ใจที่จะเป็นตัวของเองหรือการกลับไปเป็นเด็กที่ ต้องพึ่งพาคุณ สิ่งที่เด็กต้องการอย่างยิ่งคือ ความรักและดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งความเข้าใจจากคุณ ให้เริ่มฝึกฝนความเชื่อมั่นที่จะทำอะไรๆ ได้ด้วยตนเอง
พัฒนาการทางสติปัญญา
12 เดือน : ทารก ชอบดูรูปภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ และชอบทำตลกให้คุณหัวเราะ เขารู้ว่าต้องยกแขนขึ้นเมื่อคุณจะสวมเสื้อให้ รู้ความหมายของคำสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยๆ เช่น รองเท้า ขวดนม อาบน้ำ รวมทั้งเขาอาจจะพูดอะไรได้สักคำสองคำ
15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
การเรียนรู้และการพูด

การพูดเป็นทักษะด้านสติปัญญาที่สำคัญที่สุดที่เด็กจะได้เรียนรู้ หากเด็กไม่สามารถสื่อสารได้ การเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ต่อไปก็จะเป็นไปโดยลำบาก หรือมิฉะนั้นอาจถึงกับเป็นไปไม่ได้ การหัดพูดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอด และเด็กก็จะเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเขาจะต้องสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อความ อยู่รอดของตนเอง
การสื่อสารในช่วงแรกของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นเป็นคำพูดหากแต่เป็นเสียงร้องไห้ การสื่อสารที่มีต่อกันระหว่างแม่ลูกมักเริ่มจากการยิ้ม และในเวลาต่อมาอาจใช้การโครงศีรษะเข้าช่วย คุณอาจสังเกตว่าลูกพยักหน้าให้เมื่อเขาต้องการบอกขอบคุณ เมื่อเด็กโตขึ้นเล็กน้อย เขาอาจไปยืนอยู่ใกล้ๆ สิ่งที่ต้องการและตะโกนเรียกความสนใจจากคุณ  จากนั้นเขาจะหันไปชี้ของที่อยากได้ บทเรียนขั้นต้นเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าชีวิตเขาจะง่ายขึ้นกว่านี้มาก หากสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ด้วยภาษาที่ทุกคนเข้าใจ และใช้คำพูดแทนการทำกิริยาท่าทาง
เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้เรื่องภาษา เขาจะได้เรียนรู้เรื่องของสิ่งต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนรอบตัวไปพร้อมๆ กันด้วย บ่อยครั้งที่เด็กพยายามเดาความหมายของคำจากประโยคที่เขาได้ยินโดยรวมและน้ำ เสียงที่ผู้พูดใช้ เวลาเด็กใช้คำเรียกอะไร มักเป็นคำที่เขาต้องการใช้แทนความหมายของคนหรือสิ่งของที่กว้างๆ กว่าที่ผู้ใหญ่กำหนดขึ้นมาใช้กัน เช่น เด็กอาจะเรียกผู้ชายทุกคนที่เขาพบว่า “พ่อ” เพราะเด็กรู้จักคำว่าพ่อจากการอยู่กับผู้ชายที่เขารักที่บ้าน
แต่ เด็กยังไม่เข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับผู้ชายคนนี้ เด็กอาจเรียกผลไม้ทุกชนิดที่เจอว่า ม้าม่วง (มะม่วง) เพราะนั่นคือผลไม้ชนิดแรกที่เขารู้จัก อย่างไรก็ดี ในที่สุดเด็กจะสามารถแยกรถยนต์ออกจากรถบรรทุกได้ หรือแยกสุนัขออกจากแมวได้ แม้ว่าตัวจะพอกัน รูปร่างคล้ายกันและมีหางเหมือนกันหากคุณสอนให้เขารู้จักสิ่งเหล่านี้ซ้ำๆ
การพูดคุยกับลูก
โปรดพูดคุยกับลูกให้มาก เมื่อเด็กต้องการอะไรสักอย่างหนึ่งคุณควรบอกเขาว่าคุณเข้าใจที่เขาพูดและหา สิ่งนั้นมาให้พร้อมกับเรียกชื่อสิ่งของนั้นให้เขาฟังชัดๆ อย่าพูดกับลูกโดยไม่มองหน้า เพราะเขาต้องการความสนใจจากคุณ ขอให้หยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่และตั้งใจฟังเขา ในช่วงแรกเด็กจะยังไม่เข้าใจความหมายบางคำทุกคำ แต่เขาจะพยายามเดาเอาจากประโยคทั้งหมดดังนั้นคุณจะต้องพยายามช่วยให้เขาเดา เรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน สองคนแม่ลูกควรช่วยกันเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยเดินไปที่ประตูห้อง นั่งเล่น แล้วพูดว่า “ได้เวลานอนแล้วลูก” จากนั้นก็จับมือเขา พาเดินไปหัวนอน แม้เด็กจะไม่รู้จักคำพูดที่คุณใช้สักคำ เขาก็จะเข้าใจความหมายได้ว่าคุณจะให้เขาทำอะไร
คุณจะเป็นผู้ช่วยเหลือลูกได้มากในช่วงที่เขาหัดพูด เด็กชอบฟังเสียงสูงๆ ต่ำๆ ของคำพูดและเขาก็ชอบให้คุณให้คุณสนใจเขาด้วยเช่นกัน พยายามนำเสนอทั้ง 2 สิ่งนี้แก่ลูกบ่อยๆ

ทุก ครั้งที่คุยกับเขาอย่าลืมสบตาเขาคุณอาจแสดงสีหน้าและท่าทางที่มากเกินปกติ สักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจสักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจความหมายของแต่ ละคำที่กล่าวออกมานอกจากนี้ยังอาจใช้น้ำเสียงและการกระทำประกอบคำพูดด้วย เช่น เมื่อกล่าวว่า “ได้เวลาอาบน้ำแล้วนะลูก” ก็ให้เดินเข้าไปในห้องน้ำแล้วเปิดก๊อกน้ำเลยหรือเมื่อบอกว่า “มาหวีผมกันเถอะ” ก็ให้หยิบหวีขึ้นมาหวีผมให้ลูกทันทีเป็นการทำให้เด็กเรียนรู้รูปธรรมของสิ่ง รอบตัวไปกับทักษะทางภาษา
การเรียนรู้และการเล่นสนุก
สำหรับเด็กแล้ว การเล่นสนุกก็เปรียบเหมือนการได้เรียนรู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยสำหรับเขา ขณะที่เด็กกำลังจะเล่นอยู่เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปพร้อมๆ และมีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น การเล่นสนุกช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในหลายทาง ดังนี้
ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการใช้มือให้ดีขึ้น ไม่ว่าเขาจะเล่นเกมเอากล่องมาซ้อนกันเป็นตึกสูง หรือการเล่นต่อจิ๊กซอว์ ตักทราย เก็บใบไม้ คุ้ยเขี่ยดิน เมื่อโตขึ้นอีกนิด กิจกรรมเหล่านี้สอนให้เด็กควบคุมมือตนเองสำหรับทำอะไรๆ ที่เขาต้องการและเมื่อโตขึ้นเขาก็จะใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาศัยความละเอียดอ่อนหรือทักษะมากกว่าเดิม นั่นคือ การเล่นเป็นพื้นฐานของการฝึกทำงาน

การเล่นกับเด็กคนอื่นๆ สอนให้เด็กเข้าใจความสำคัญของการเข้าสังคมกับผู้อื่น การให้เพื่อนมาที่บ้านช่วยให้เด็กลดความขี้อายและรู้จักการแบ่งปัน สอนให้เขาแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ รวมทั้งสอนให้เขารู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ และพฤติกรรมต่อต้านสังคม นอกจากนี้ หากเด็กมีเพื่อนสนิทเขาก็จะได้เรียนรู้ที่จะรักคนอื่น เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และรู้จักนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดคุยขณะที่เขาเล่น โดยเฉพาะถ้าเขาจะพูดกับเด็กคนอื่นขณะที่กำลังง่วนอยู่การเล่นที่ต้องใช้ สมาธิ หรือความคิดสร้างสรรค์ การพูดคุย จะยิ่งทำได้ยากกว่าเดิม เพราะเด็กจะต้องรวบรวมความคิดที่มีเกี่ยวกับเกมและถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่ จะทำให้เพื่อนเข้าใจได้
การเล่นสนุกจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญาทางด้าน ร่างกายนั้นเด็กจะได้ฝึกฝนให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานร่วมกันในขณะที่เขาวิ่ง กระโดด ปีน และโหนตัว นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและได้พัฒนาประสาทการมองและการฟัง เสียง รวมทั้งเข้าใจมิติต่างๆ อีกด้วย
การเล่นที่เหมาะสำหรับเด็ก
สำหรับเด็ก แล้วการเล่นและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันไปได้ ดังนั้นคุณจึงควรให้เขาเล่นเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการต่างๆ ให้ดีขึ้นและเหมาะกับอายุในแต่ละช่วง ลูกทั้ง 4 คนของดิฉันในช่วงที่เป็นเด็กเล็กจะชอบเล่นกับน้ำมาก ไม่ว่าการเล่นน้ำในสระเล็กๆ หรือการเล่นรองน้ำที่ไหลจากก๊อกใส่ภาชนะต่างๆ ในบ้าน น้ำเป็นสิ่งที่เสริมสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ให้แก่เด็กได้เป็น อย่างดีเพราะน้ำมีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น น้ำทำให้ของต่างๆ เปียก น้ำไหลได้ นำมาใส่ภาชนะต่างๆ ก็เปลี่ยนรูปไปตามภาชนะนั้นได้ เข้าออกได้ มีฟองลอยบนผิวน้ำได้ สิ่งของบางอย่างเมื่อใส่ลงในน้ำอาจจมได้ น้ำอาจเปลี่ยนสีได้เมื่อใส่ผักบางชนิดลงไป ถ้าก๊อกรั่วจะมีหยดน้ำหยดลงมา และอุ้งมือของเรามักจะเก็บไว้ไม่อยู่ เป็นต้น
การเล่นดินน้ำมันเป็นสิ่งที่เหมาะกับเด็กเช่นกัน เด็กจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะดินน้ำมันเอามาปั้นเป็นรูปต่างๆ ได้ และคงอยู่ในรูปเช่นนั้นไว้ หรือถ้าอยากปั้นอย่างอื่นก็สามารถเอามาปั้นเป็นก้อนกลมๆ และทำให้เป็นรูปเป็นร่างอื่นต่อไป
ทรายเป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่น่าเรียนรู้ เพราะเป็นของที่อยู่ตรงกลางระหว่างของแข็งและของเหลว เมื่อจับทรายจะรู้สึกว่าเป็นเม็ดมันแข็ง แต่ก็สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามภาชนะที่ใส่ เมื่อทรายนั้นเปียกเราอาจจะตักทรายอัดใส่ให้แน่นเมื่อคว่ำออกมา ทรายก็สามารถคงรูปร่างเหมือนกระป๋องนั้นไว้ได้ และทรายกองนั้นก็อาจทลายลงมาได้เมื่อมันแห้งลง

สิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ในช่วงขวบปีที่ 2 คือ การแยกประเภทของสิ่งต่างๆ โดยเริ่มมองเห็นความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งของ คุณอาจสร้างเสริมการเรียนรู้ในลักษณะนี้แก่เด็กได้โดยใช้ของเล่นเป็นสื่อ เช่นอาจมีชุดตุ๊กตาเล็กๆ ของฟาร์มปศุสัตว์ให้ลูกเล่น ในชุดของเล่นอาจประกอบด้วย ม้า วัว และไก่ ทำให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสัตว์เหมือนกัน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพวก คุณควรช่วยอธิบายความเหมือนและความต่างให้ลูกฟังและเรียกชื่อสัตว์สิ่งของ ต่างๆ ให้เขาฟังซ้ำๆ เวลาแยกประเภทให้ดู และอาจนำการสอนแบบนี้ไปใช้กับเรื่องผลไม้ รถ และสิ่งของอย่างอื่นได้อีกและอย่าลืมถ้ามีโอกาสต้องพาไปดูของจริงด้วย
เด็กจะชอบเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายในบ้านเขาจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมาย หากคุณยอมให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย คุณอาจให้เขาช่วยตักแป้งอบขนมให้ ให้เขายกจานที่รับประทานแล้วนำมาไว้ที่อ่างล้างจาน รวมทั้งหาแปรงปัดกวาด และที่โกยผงอันเล็กๆ ให้เขาช่วยคุณทำความสะอาดบ้าน
คุณอาจจะเอาเสื้อผ้า เครื่องแบบ หมวก และรองเท้าที่ไม่ใช้แล้วมาเก็บไว้ในกล่องใหญ่ๆ สักใบหนึ่งเอาไว้ให้ลูกใส่เล่น เด็กส่วนใหญ่จะสนุกกับการเล่นแต่งตัวเลียนแบบผู้อื่น และสิ่งที่นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับเขาเพราะเด็กจะเริ่มรับรู้ว่าในโลกนี้ยัง มีคนอื่นๆ อยู่ด้วยอีกมากและเขาจะต้องพบเจอกับคนเหล่านั้น แนวคิดดังกล่าวจะเป็นที่เข้าใจได้สำหรับเด็ก หากคุณเริ่มจากการให้เขาเล่นแต่งตัวเลียนแบบคนอื่น
เด็กๆ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงต่างก็ชอบตุ๊กตา ตุ๊กตาเป็นเสมือนเพื่อนในจินตนาการของพวกเขา และช่วยให้เขาสร้างโลกส่วนตัว

ใน ขณะที่เด็กเล่นกับตุ๊กตาเขากำลังเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ไปด้วย โดยปฏิบัติกับตุ๊กตาราวกับมันเป็นสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะพูดคุยด้วย แต่งตัวให้ พาไปนอน และหอมแก้มก่อนบอกราตรีสวัสดิ์ อันที่จริงการกระทำเหล่านี้เป็นการเลียนแบบสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กับชีวิตของเด็ก เขาพยายามจะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้ และเชื่อมโยงการกระทำดังกล่าวกับผู้คนที่อยู่รอบข้าง
ก่อนที่เด็กจะเขียนหนังสือได้หรือวาดรูปได้ เขาจะเริ่มจากการจับไม้มาขีดเขียนบนพื้นดิน หรือหยิบดินสอสีต่างๆ ขึ้นมาขีดๆ เขียนๆ เล่นเสียก่อน ควรหาชอร์คสี กระดานดำ และขาตั้งขนาดสูงเท่ากับตัวเด็กมาไว้ใช้ที่บ้าน เพราะเขาจะได้วาดๆ ลบๆ ได้ตามใจชอบ นอกจากนี้คุณอาจหากระดาษแผ่นใหญ่มาวางไว้ติดที่ขาตั้ง และซื้อสีเทียนหรือสีชอร์คมาให้เด็กวาดภาพระบายสี ถ้าคุณไม่อยากซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ คุณก็สามารถทำขึ้นมาใช้เองได้ การระบายสีลงบนตัวของเด็กเองก็เป็นเรื่องน่าสนุกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเพื่อนๆ มาร่วมเล่นด้วย
เด็กส่วนใหญ่ชอบเสียงเพลงและชอบให้คุณร้องเพลงให้เขาฟังตั้งแต่ช่วงแรกเกิด เด็กหลายๆ คนฮัมเพลงโปรดของตัวเองได้เป็นเวลานานก่อนที่จะพูดได้ด้วยซ้ำ เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นคุณอาจซื้อเครื่องดนตรีที่เป็นของเล่นเด็กให้ เช่น เปียโน นิ้งหน่อง หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อให้เขาได้เล่นดนตรีตามแบบพวกเขาเอง คุณอาจช่วยกระตุ้นให้เขาเล่นด้วยการร่วมร้องรำทำเพลงไปด้วย ซึ่งก็จะทำให้ลูกรู้สึกสนุกสนานยิ่งขึ้น
วิธีที่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ คุณควรร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับเขาด้วย และอาจช่วยให้คำแนะนำและแสดงให้เขาดูว่าจะทำกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง และจะต้องทำอย่างมีศิลปะไม่ให้ลูกรู้สึกว่าคุณเข้ามายุ่งก้าวก่ายกับเขามาก เกินไป เกมที่ลูกเล่นมักจะต้องมีคนเล่นด้วย คุณจึงควรช่วยเล่นกับเขา เมื่อคุณว่าง และร่วมเล่นไปจนกว่าเขาจะไม่ต้องการคุณเวลาเล่นควรปล่อยให้ลูกนำ เขาอาจจะอยากให้คุณช่วยตักทรายใส่กระป๋องให้คุณไม่ควรจะช่วยเขาจับกระป๋อง ทรายคว่ำทำเป็นบ้านเด็ดขาด เพราะนั่นคือส่วนที่สนุกที่สุดที่เขาอยากทำเอง

ลูกของคุณอาจเริ่มมีช่วงสมาธิยาวขึ้น แต่เขาอาจจะยังมีปัญหาเรื่องสมาธิอยู่บ้างถ้าต้องทำสิ่งที่ยากเกินไป ในกรณีนี้ควรช่วยลูกโดยแสดงให้ดูว่าควรทำอย่างไร และตั้งเป้าหมายให้เขารวมทั้งคอยให้กำลังใจลูกด้วยลูกอาจทำอะไรหลายๆ อย่างไม่ได้ หากขาดกำลังใจจากคุณ แต่เมื่อเขาทำสำเร็จเขาก็จะรู้สึกว่าเป็นความภูมิใจอย่างสูง
การให้ลูกเล่นคนเดียว
พ่อแม่หลายรายคิดผิดว่าควรให้ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดเวลาที่เขาตื่น ก็คือ เขาควรจะสามารถนั่งเล่นอะไรได้เงียบๆ คนเดียว บ่อยครั้งที่เด็กอยากนั่งเล่นคนเดียว ตัดสินใจเองว่าจะเล่นอะไรไปนานสักเท่าไร ควรปล่อยให้เขานั่งเล่นเองไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่ต้องทำสิ่งที่ยากจนทำไม่ได้ และหันมาขอความช่วยเหลือจากคุณ หากเขาไม่ได้ร้องขอไม่ควรเข้าไปยุ่งเพราะจะทำให้เด็กหมดสนุกจนเลิกเล่นไปเลย และไม่ได้เห็นว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้น เมื่อสร้างเป็นรูปเป็นร่างแล้วจะออกมามีหน้าตาอย่างไร ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่ได้มีประสบการณ์เรื่องความภาคภูมิใจกับความสำเร็จของตัว เองอย่างที่เขาควรจะมี
ความเข้าใจผิดอีกประการหนึ่ง คือ คนทั้งหลายมักคิดว่าเด็กจะต้องเล่นของเล่นเสมอ ในความเป็นจริงแล้วเด็กสามาให้ทำกิจกรรมได้มากมายหลายอย่างโดยไม่ต้องใช้ของ เล่นเลย เช่น การไปออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ปีนเนินเตี้ยๆ วิ่งเล่นตีแบด เล่นบอล สร้างแคมป์จากกิ่งไม้และใบไม้ ตักน้ำใส่ลงในหลุมทราย เก็บก้อนกินหรือเปลือกหอยเล่น เป็นต้น และคุณควรปล่อยให้ลูกเล่นไปตามประสาของเขาให้เขามีความเป็นตัวของตัวเอง หากไม่หัดให้เขาอยู่ได้โดยลำพังบ้าง ลูกจะรู้สึกแย่มากในเวลาที่คุณไม่อยู่ และอาจนำไปสู่พัฒนาการถดถอย หรือการทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเขาเอง เป็นต้น
ดังนั้นคุณควรพอใจ เมื่อลูกมีความเป็นตัวของตัวเองและเขาไม่ได้ต้องการพึ่งพาคุณตลอดเวลา รวมทั้งมีความสุขได้ในยามที่ต้องเล่นอยู่คนเดียว
อย่างไรก็ดี เมื่อปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียว คุณเองก็ต้องเตรียมทำใจกับความเลอะเทอะเปรอะเปื้อนที่จะตามมาเอาไว้ด้วยเช่น กัน พยายามป้องกันความเลอะเทอะล่วงหน้าเท่าที่พอจะทำได้ เช่น ถ้าลูกเล่นน้ำให้หาผ้าขนหนูมาปูซับน้ำ ถ้าลูกวาดภาพระบายสีให้เอาผ้าพลาสติกมาปูทับพื้นเอาไว้ ถ้าลูกเล่นปั้นดินปั้นโคลนควรใส่ผ้ากันเปื้อนให้เขา ลูกอาจเล่นจนเลอะเทอะไปถึงข้อศอกหน้าตาและผมเผ้าเปรอะเปื้อน ซึ่งก็ให้คอยล้างออกให้เขาภายหลังและไม่ควรหงุดหงิดกับเรื่องเหล่านี้.
แหล่งที่มาของข้อมูล...นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับที่ 169 ประจำเดือนสิงหาคม 2550

พัฒนาการทางสังคมของเด็ก

    
เด็กๆจะเริ่มมีพัฒนาการทางสังคมตั้งแต่อายุได้ 6 เดือน แต่คุณทราบไหมคะว่า อายุเท่าไรลูกจะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีเรื่อง น่ารู้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

เด็กอายุ 6 เดือน
เด็กจะเริ่มยิ้ม และหัวเราะเวลาผู้ใหญ่เล่นด้วย อาจจะร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลกหน้า ตลอดจนใช้ภาษากายในการเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ เช่น เอื้อมมือไปแตะ ตัวผู้ใหญ่เป็นสัญญาณให้เล่นหรือทำกิริยาที่ทำอยู่ต่อไป

อายุ 12-13 เดือน
เด็กจะมีการตอบสนองความรู้สึกของคนอื่นมากขึ้น และจะเริ่มเล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพื่อแชร์ของเล่นกัน

อายุ 18 เดือนเด็กสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองอารมณ์ของตนเองได้มากขึ้น เช่นจะนอนกอดผ้าห่มเพื่อความสบายของตัวเอง

อายุ 2 ปีเด็กจะร่าเริง และสนุกสนานเต็มที่กับสิ่งที่เขาคุ้นเคย แต่จะเกิดอาการอายเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า หรืออยู่ในสถานการณ์ใหม่ๆ

อายุ3-4 ปี
เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เด็กก่อนวัยเรียนจะชอบออกไปผจญภัยในโลกภายนอกมากขึ้น เพราะอยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการเด็กวัย 3-5 ปี

พัฒนาการทางร่างกาย ของเด็กอายุ 3-5ปี
พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่าง รวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก การเพิ่มของ น้ำหนักเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ในตอนต้นของวัยนี้ สัดส่วนของร่างกายเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น ทำให้สามารถกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวดีขึ้น เด็กจึงชอบวิ่ง กระโดด ไม่หยุดนิ่ง การหยิบจับและการช่วยเหลือตนเอง สามารถควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดี ทำให้เด็กวัยนี้ พร้อมที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลัง การเล่นกลางแจ้ง การใช้มือก็มีความละเอียดขึ้น เด็กสามารถแต่งตัวเองได้ หวี ผม แปรงฟันได้เอง และสามารถช่วยทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้  เราจะเห็นว่าเด็กในวัยนี้มีการพัฒนาด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กดังนี้
กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 
-          ยืนขาเดียวได้นานขึ้น
-          ปีนป่ายบันไดและเครื่องเล่นกลางแจ้ง
-          เดินลงบันไดแบบสลับขา
-          วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้
-          ถีบจักรยาน 3 ล้อได้
-          วิ่งไปเตะลูกบอลได้โดยไม่ต้องหยุดเล็ง
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
-          วาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
-          วาดรูปคนที่มีส่วนต่างๆได้ 3 ส่วน
-          ร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้
-          เลียนแบบการทำสะพานได้
-            ตัดกระดาษกรอบรูปได้
 เด็กจะเริ่มเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่เฝ้าในการเล่น ใช้พลังงานไปกับการเล่น จะรู้สึกดีที่ได้แสดงออกในสิ่งที่ตนต้องการ เต็มใจลองของใหม่และสิ่งแปลกใหม่



พฤติกรรมของเด็กอายุ 3-5 ปี
ชอบตั้งคำถาม  เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการทางภาษาค่อนข้างมาก  สามารถเล่าเรื่องเป็นประโยค
         ยาวๆได้  ร้องเพลงง่ายๆได้   ทำให้มักชอบตั้งคำถาม   ช่างคิด  ช่างสงสัยในสิ่งต่างๆ
                         เริ่มช่วยเหลือตนเองได้  เช่น รับประทานอาหาร  แต่งตัว  ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยตนเอง   และยังชอบช่วยผู้ใหญ่ทำงานเล็กๆน้อยๆ เราควรส่งเสริมให้เด็กเกิดความภูมิใจด้วยการชื่นชมในสิ่งที่เด็กทำ  และให้ได้ลองทำสิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง
                          เล่นกับเพื่อน มักจะเล่นอยู่ในกลุ่มเพื่อน 2-3 คน ทำให้ได้เรียนรู้เงื่อนไขทางสังคมใหม่ๆที่นอกเหนือไปจากที่บ้าน  เริ่มบอกความแตกต่างระหว่างเพศได้  Piaget นักจิตวิทยากลุ่มที่เน้นความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) กล่าวว่า เด็ก 3-5 ขวบ เรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมจากเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลหรือเพื่อนบ้านวัยเดียวกัน แต่เด็กวัยนี้ยังเข้าใจถึงความถูกต้องและความผิดไม่ลึกซึ้งนัก
                          มีจินตนาการ  เด็กวัยนี้ชอบของเล่นที่ใช้ความคิด  หากได้เล่นจินตนาการ  หรือแสดงบทบาทสมมุติจะเล่นได้เรื่อยๆ เช่น พ่อแม่ ครู ตำรวจ ซึ่งเด็กมักจะเล่นบทบาทสมมติเป็นบุคคลที่มีอำนาจในสายตาเด็ก การเล่นบทบาทสมมติเป็นสิ่งที่เราควรส่งเสริมเพราะช่วยให้เด็กได้มีจินตนาการ  และเป็นการปลดปล่อย   บางครั้งเวลาที่ให้เด็กเล่าเรื่องอาจเป็นเรื่องจริงปนเรื่องสมมุติ  พ่อแม่และผู้ปกครองควรต้องระวังไม่ให้กลายเป็นติดนิสัยโกหก  โดยไม่ควรใช้วิธีดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง  แต่อาจใช้วิธีการทำให้เด็กรู้ว่ากำลังพูดเรื่องโกหก เช่น
คุณแม่ - ใครทำน้ำหก
หนูเล็ก- พี่แดงทำค่ะ
คุณแม่ - พี่แดงไปโรงเรียนแล้ว จ๊ะ หนูไปเอาผ้ามาเช็ด วันหลังต้องอย่าวิ่งเวลาถือแก้วน้ำนะจ๊ะลูก
เจ้าอารมณ์  เด็กในวัยนี้มักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเปิดเผย  เช่น โมโห  ไม่พอใจมักแสดง
อาการกระทืบเท้า   อิจฉาอะไรโดยไม่มีสาเหตุ  และกลัวอะไรอย่างสุดขีด  อาจเกิดจากสัญชาตญาณหรือระดับสติปัญญาที่เพิ่มมากขึ้น  ทำให้รู้ว่าสิ่งใดมีอันตราย
ในด้านพฤติกรรมนั้นผู้ใหญ่ควรเข้าใจว่าเด็กในวัยนี้มีจินตนาการสูง  และกำลังอยู่ในช่วงของการ
เรียนรู้สังคมที่นอกเหนือไปจากที่บ้าน  ทำให้การแสดงออกของพฤติกรรมอาจไม่เหมาะสม  แต่จะต้องแยกตัวเด็กออกจากพฤติกรรมของเขา เช่น จะต้องบอกว่า “ครูรักหนู แต่ครูไม่ชอบในสิ่งที่หนูทำ หนูทำแจกันแตกเป็นสิ่งที่ไม่ดี มันทำให้เกิดอันตราย” แต่ถ้ามันเป็นอุบัติเหตุก็ต้องอธิบายให้ฟังว่า ไม่เป็นไรมันเป็นเพียงอุบัติเหตุ คราวหน้าหนูควรทำอย่างนี้ และที่สำคัญครูควรต้องระวัง ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ควรให้เด็กคิดถึงสิ่งที่เขาควรทำได้ สำหรับวัยนี้และจะต้องชมเชยเมื่อเด็กทำได้ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง รวมทั้งเรื่องความคิด การตัดสินใจ การสร้างทัศนคติที่ดี ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสามารถที่จะทำได้  

ทักษะสำคัญในการใช้ชีวิต ของเด็กอายุ 3-5 ปี
                         ทักษะที่ต้องเริ่มฝึกหัดและฝึกฝนให้ลูกก็คือสิ่งที่จำเป็นกับการดำเนินชีวิตของเขาในวัยปัจจุบัน และจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาไปสู่ทักษะชีวิตที่ยากและซับซ้อนขึ้น ซึ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า
ความคล่องแคล่วชำนาญในทุกๆ พัฒนาการทางกาย ที่จะเกิดขึ้นตามวัย เช่น เดิน วิ่ง กระโดด
หยิบจับสิ่งของ ขีดเขียน การพูดจาสื่อสาร ซึ่งเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมต่างๆ
ส่งเสริมได้โดย : ให้ลูกได้เล่นออกกำลัง เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแขน-ขา มือ-นิ้วมือ ฝึกการทำงาน
ประสานกันของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การทรงตัว เช่น พาไปเล่นในสนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี เตะบอล ขี่จักรยาน 3 ล้อ ต่อบล็อก ปั้นแป้ง
  • ให้ลองลงมือทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองบ้าง ตามวัยที่เขาทำได้ เช่น ให้ลองจับแปรงแปรงฟันเอง ล้างมือ ล้างหน้า กินอาหาร ถอด-ใส่เสื้อผ้า รองเท้า เริ่มจากง่ายๆ ก่อนโดยทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และอาจช่วยเหลือบ้างถ้าเห็นว่าลูกต้องการ ระหว่างนี้สามารถวางแบบแผนที่ควรจะเป็นของกิจวัตรได้ด้วย เช่น แปรงฟันตอนเช้า-ก่อนเข้านอน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ถอดรองเท้าวางเข้าที่ เป็นต้น 
  • จัดกิจกรรมที่เด็กจะได้สื่อภาษา เช่น ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ พูดคุยกับลูกให้มากในทุกๆ ช่วง ทุกๆ กิจกรรมที่ได้อยู่กับเด็ก เช่น ขณะเล่น ขณะทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้เด็กได้เห็นตัวอย่างการใช้ภาษา ได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ และต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองใช้ภาษา ด้วยการชวนคุยแบบตั้งคำถามและให้ความสำคัญกับการฟังในสิ่งที่เด็กพยายามสื่อสาร  
สร้างทักษะชีวิต : การทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เช่น ทำกิจวัตรประจำวันได้เอง ช่วยเหลือตัวเองได้
สามารถทำและสื่อสารให้ผู้อื่นรู้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ สิ่งเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่ความเชื่อมั่น และการเห็นคุณค่าในตัวเอง
ถ้ายิ่งมีโอกาสทำอะไรด้วยตัวเองบ่อยเท่าไร โอกาสของการได้ลองผิดลองถูก ได้คิดวิเคราะห์
แก้ปัญหา ตัดสินใจในระหว่างที่ทำกิจกรรมเหล่านี้นั้นก็จะมีมากขึ้น ความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจก็จะสะสมมากขึ้นเป็นวงจรเรียนรู้ ที่มีแต่ได้กับได้ นอกจากนี้เด็กๆ ที่ช่วยเหลือตนเองได้มาก จะเป็นคนที่รู้จักรับผิดชอบและปรับตัวง่ายด้วย

ความชำนาญ ในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กๆ ต้องได้ฝึกทักษะการใช้สายตา การรู้จักแยกแยะ
กลิ่น เสียง การลิ้มรสและสัมผัสที่แตกต่าง

ส่งเสริมได้โดย : การจัดหนังสือ ของเล่นที่จะกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้าน เช่น
ของเล่นที่มีสีสัน มีเสียง เคลื่อนไหวได้ หรือแม้แต่การเล่นจ๊ะเอ๋ ซ่อนหาสิ่งของ เล่นทราย กิจกรรมทดสอบประสาทสัมผัส หนังสือสีสันสดใสมีรูปแบบน่าสนใจ เช่น หนังสือภาพ หนังสือ pop up เป็นต้น
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้หลากหลายและน่าสนใจ ที่ช่วยเร้าความสนใจในการเข้าไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ทั้งภายในบ้าน รอบบ้านหรือการพาลูกไปเที่ยวที่ต่างๆ และชี้ชวนให้ลูกสังเกต ลงมือทำ สัมผัสกับของจริง หรือแม้แต่การจัดเมนูอาหารที่หลากหลาย ที่สำคัญไม่ต้องสกัดกั้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็กด้วยการละเลยคำถาม หรือตอบอย่างดุดันรำคาญ โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปี ที่เด็กเป็นเจ้าหนูจำไมชอบซักถาม
สร้างทักษะชีวิต : เด็กจะได้รู้จักโลกรอบๆ ตัว ทั้งสัตว์ สิ่งของ ผู้คน สถานที่ ฯลฯ สั่งสมเป็น
ฐานข้อมูลในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ นำไปสู่ความเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด วิเคราะห์ สามารถแยกแยะความแตกต่างของสิ่งรอบตัวได้ และเมื่อความอยากรู้อยากเห็นได้รับการตอบสนองอยู่เรื่อยๆ ลูกจะกลายเป็นเด็กที่มีความกระหายใคร่รู้ กระตือรือร้นกับสิ่งใหม่ อยากรู้อยากลอง
ทักษะในการสัมพันธ์กับผู้อื่น  โดยการเรียนรู้วิธีสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
ส่งเสริมได้โดย : โอบกอด สัมผัส ให้ความรัก ดูแลและปฏิบัติต่อเด็ก บุคคลอื่น หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงด้วยท่าทีอ่อนโยน พูดจาด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล เป็นการให้แบบของการแสดงออกทั้งกิริยาและคำพูดที่เหมาะสม
  • ดูแลเด็กโดยใช้เหตุใช้ผลผ่อนปรนตามความต้องการของลูกบ้างในบางเรื่อง เพื่อให้เริ่มเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่ควรและไม่ควร และเห็นวิธีการจัดการกับความไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ เป็นฐานของการคิดวิเคราะห์หาเหตุผล การแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนหาวิธีที่ดีที่สุด
  • พาไปร่วมกิจกรรมที่ต้องสัมพันธ์กับคนอื่นและให้ได้ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นนอกบ้าน เช่น เมื่อไปซื้อของ เวลาที่เข้าแถวรอจ่ายเงินหรือทำธุระต่างๆ ให้เด็กได้อยู่ร่วมในบรรยากาศแบบนี้บ้าง ระหว่างรอก็เล่าให้รู้ว่ากำลังทำอะไร ทำไมจึงต้องรอ ถ้าทำเป็นประจำเด็กจะค่อยๆ ซึมซับและเรียนรู้วัฒนธรรมของการเข้าคิว รู้จักรอคอย และเคารพสิทธิ์ผู้อื่น
  • ให้เรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้ให้ ผู้รับ เช่น เทศกาลต่างๆ ก็พาลูกไปช่วยเหลือ ช่วยเตรียมของขวัญให้ญาติ เพื่อน หรือให้เด็กเป็นคนมอบของขวัญนั้น หรือการซื้ออาหารให้สัตว์ตามสวนสัตว์ การให้อาหารสัตว์เลี้ยงที่บ้าน ก็เป็นกิจกรรมที่เป็นฐานไปสู่การรู้จักคิดถึงผู้อื่น การมีน้ำใจได้
ทักษะทางด้านอารมณ์ คนที่มีทักษะทางอารมณ์ที่ดี คือคนที่รู้จักและเท่าทันอารมณ์ตัวเอง จัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ เกิดขึ้นได้จากความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และการมีอารมณ์มั่นคง
 ส่งเสริมได้โดย : เลี้ยงดูด้วยความรัก ความเข้าใจ โอบกอด สัมผัสอย่างสม่ำเสมอ จะเกิดเป็นความไว้วางใจ เชื่อมั่นว่าตัวเองเป็นที่รัก ไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นฐานของการเห็นคุณค่าในตัวเอง
  • สนใจและให้อิสระเด็กได้ทำในสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่สนใจ โดยให้เด็กคิด เลือกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยให้คำแนะนำให้การสนับสนุนและชื่นชม ก็จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่สนใจ ยอมรับจากคนที่เขารัก ก็เกิดเป็นความมั่นใจ เห็นคุณค่าตัวเอง อารมณ์มั่นคง
  • จัดของเล่น กิจกรรมที่ลูกได้แสดงความรู้สึกและอารมณ์ เช่น เล่านิทาน การฟังเพลง การเล่นจินตนาการกับตุ๊กตา ของเล่นต่างๆ การทำงานศิลปะ ทั้งที่เล่นคนเดียว เล่นรวมกับพ่อแม่หรือคนอื่นๆ หรือจะเป็นของเล่นหรือกิจกรรมที่เด็กจะได้ใช้สมาธิจดจ่อ เช่น เกมต่อภาพ ต่อบล็อก แป้งปั้น ร้อยลูกปัดก็ช่วยสร้างอารมณ์ที่มั่นคงได้ แม้แต่วิธีการเล่นของเล่นทีละ 1 อย่าง เล่นแล้วเก็บแล้วค่อยหยิบของเล่นชิ้นใหม่มาเล่น วิธีนี้สอนได้ทั้งเรื่องวินัยและสมาธิ การจดจ่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เด็กได้ และสิ่งนี้ยังเป็นฐานของการพัฒนาไปสู่ความมุมานะ พยายามตั้งใจได้อีกด้วย
ธรรมชาติของเด็กและเยาวชนคือ  การอยากเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ  อยู่เสมอ  ประกอบกับในยุคสมัยนี้มีเครื่องมือสื่อสารต่างๆ  ที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่ายและรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตหรือเกมออนไลน์  ทำให้เยาวชนขาดความระมัดระวังในการเลือกรับสื่อเหล่านี้  และบางคนอาจจะเลือกรับสื่อที่ไม่เหมาะสม  ซึ่งจะส่งผลทางลบต่อตัวเด็กและเยาวชนได้อีกด้วย

จิตวิทยาของเด็กอายุ 3-5 ปี
ในวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กมีสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสดีมากขึ้น เด็กเริ่มที่จะเคลื่อนไหว ต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว Erik H. Erikson กล่าวว่า ในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่างซักถาม เป็นเจ้าหนูจำไม ซึ่งผู้ใหญ่ควรโต้ตอบให้ความรู้กับเด็กเพราะจะส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก เด็กจะคิดใหม่ พูดใหม่ ทำอะไรใหม่ๆ ทุกวัน ระบบความจำและสมาธิดีขึ้น และเป็นวัยที่มีจินตนาการสูง มีความคิดแบบที่ยึดเอาตนเองเป็นหลัก และคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีชีวิตมีความรู้สึก เช่น ต้นไม้ร้องไห้ถ้าโดนตัด เป็นต้น แต่ก็จะเริ่มลดลงในช่วงหลัง ให้เหตุผลง่ายได้ๆ จินตนาการบางอย่างของเด็กนั้นผู้ใหญ่ต้องคอยดูและแยกแยะระหว่างความจริงกับจินตนาการให้เด็กเพื่อไม่ให้เด็กติดนิสัยโกหก ในขณะเดียวกัน พ่อแม่ต้องสนับสนุนให้เด็กได้สร้างสรรค์จินตนาการของตนเองอย่างเหมาะสม เช่น มีของเล่นที่สามารถใช้เล่นบทบาทสมมติได้ ตุ๊กตามือ หรือนิทานต่าง ๆ ซึ่งเด็กที่ได้รับการส่งเสริมเต็มที่จะกลายเป็นคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเล่นบทบาทสมมติเป็นการช่วยระบายความกลัว เช่น เด็กกลัวหมอฟัน การเล่นบทบาทสมมติเป็นหมอฟันอาจช่วยลดความกลัวตรงนี้ได้ แต่ผู้ใหญ่ต้องระวังไม่ให้กลายเป็นว่าเด็กกลัวฝังใจ นอกจากนั้นการเล่นบทบาทสมมติยังพัฒนากระบวนการคิดเป็นขั้นตอน การให้เด็กได้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ และพ่อแม่ต้องรู้จัก “ชม” อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการเสริมแรงให้ลูกกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อไป หากเด็กทำผิด ก็ต้องลงโทษอย่างเหมาะสมเช่นกัน แต่การลงโทษนั้นไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมถาวรเท่ากับการเสริมแรงด้วยการชม นอกจากนี้ ในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีพฤติกรรมเลียนแบบโดยจะมีการเลียนแบบพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกันซึ่งเป็นการเรียนรู้บทบาททางเพศ Albert Bandura กล่าวว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือเรียนรู้จากตัวแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวแบบที่เป็นบุคคลจริง ๆ เช่น พ่อแม่ เพื่อน ครู หรือตัวแบบเชิงสัญลักษณ์ เช่น ตัวละครในโทรทัศน์ ตัวการ์ตูน หากตัวแบบใดทำพฤติกรรมแล้วได้รับรางวัล ตัวเด็กก็มีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมนั้นๆ ตามตัวแบบที่ได้รับรางวัล จริยธรรมของเด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาแต่จะพัฒนาจาก ตัวแบบ การลงโทษ การให้รางวัล และการสั่งสอน
การเล่นของเด็กนั้นเด็กจะมีกลุ่มเพื่อนอาจจะสองถึงสามคน ซึ่งการเล่นเป็นกลุ่มนี้ช่วยให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ รู้จักสร้างกฎและทำตามกฎ การปรับตัวและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เป็นการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการเล่นเป็นกลุ่มนี้ยังช่วยลดความคิดที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของเด็กด้วย เพราะเมื่อเล่นกับคนอื่น เด็กย่อมต้องรู้จักการปรับตัว และหัดมองในมุมของคนอื่นเพื่อตนเองสามารถเป็นส่วนหนึ่งและเล่นร่วมกับคนอื่นได้ นอกจานั้นยังทำให้เกิดการเลียนแบบกันเองด้วย
หากพ่อแม่ ผู้ปกครองให้การสนับสนุนที่ดีแก่เด็กได้ เด็กในวันนี้ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า











ผลกระทบจากสื่อกับการเรียนรู้ของเด็ก
สื่อเป็นสิ่งแวดล้อมที่ในปัจจุบันส่งผลอย่างมากต่อเด็ก เป็นสิ่งแวดล้อมที่เด็กสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ช่วยให้เด็กได้รับข้อมูลและมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สื่อที่มีความโดดเด่นมากที่สุดก็คงเป็นสื่อโทรทัศน์ เด็กในวัยนี้พัฒนาการด้านภาษายังไม่เท่าผู้ใหญ่แต่มีความเข้าใจเกี่ยวกัยสัญลักษณ์ สื่อโทรทัศน์ที่เด็กชอบและสามารถเข้าใจได้ง่ายคงเป็นการ์ตูน เพราะมีรูปภาพและเพลงที่เด็กชอบ แต่เด็กในวัย 3-5 ขวบเป็นช่วงที่มีพัฒนาการด้านต่างๆของร่างกาย  เช่น กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ  หากเด็กมานั่งดูทีวีอย่างเดียวเป็นเวลานานๆ  ก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก และแม้ว่าเด็กจะได้เรียนรู้ผ่านสื่อโทรทัศน์แต่เด็กไม่สามารถโต้ตอบด้วยได้ การจะห้ามไม่ให้เด็กดูทีวีคงเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นผู้ใหญ่ควรกำหนดเวลาหรือดูด้วยกันแล้วคอยสอน
เราจะทำสื่อให้มีความเหมาะสมกับเด็กในวัย 3-5 ขวบอย่างไร เพื่อให้มีความเหมาะสมและส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กให้มากที่สุด ในเมื่อเราไม่สามารถแยกเด็กกับสื่ออกจากกันได้ เราจะผลิตสื่อที่ดีอย่างไร นักจิตวิทยาชื่อว่า Erik Homberger Erikson ได้อธิบายว่า เด็กในวัยนี้เป็นเด็กที่มีจินตนาการสูง ในเมื่อเราทราบว่าเด็กในวัยนี้มีจินตนาการสูง สื่อก็ควรผลิตรายการที่ส่งเสริมจินตนาการของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสร้างจินตภาพที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ Albert Bandura  นักจิตวิทยาได้อธิบายว่า พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางในการผลิตสื่อได้ว่า เราควรที่จะผลิตสิ่งที่เด็กสามารถที่จะเลียนแบบแล้วส่งผลดีต่อพฤติกรรม ต่อจริยธรรมในตัวเด็ก เพราะหากเรามานึกถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ที่เราพบในทีวีนั้นก็จะมีรายการมากมายที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ จริยธรรม หรือความรุนแรงก็ตาม ทำให้เด็กไม่สามารถมีตัวแบบที่ดีในการเลียนแบบ ซึ่งก็จะส่งผลในทางที่ไม่ดีต่อพฤติกรรมของเด็กอย่าง และจะส่งผลไปถึงพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่ด้วย  เนื่องจากระดับจริยธรรมของเด็กในวัยนี้จะปฏิบัติเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษ พฤติกรมที่ดีคือทำแล้วได้รางวัล พฤติกรรมที่ไม่ดีคือทำแล้วถูกลงโทษ ซึ่งระดับคุณธรรมก็ขึ้นกับการรู้คิดของเด็กด้วย การที่เด็กได้ตัวแบบด้านคุณธรรมที่ดีและได้รับรางวัลก็ย่อมส่งเสริมพฤติกรรม ซึ่งรางวัลนั้นอาจจะเห็นตัวแบบได้รับหรือตนเองได้รับเองก็ได้ ส่วนการฉายภาพของโทรทัศน์เป็นการตัดกลับไปกลับมาทำให้เด็กอาจไม่สามารถเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลของภาพเหตุการณ์นั้นได้เนื่องจากความจำกัดด้านการรู้คิด ส่งผลให้เด็กไม่เข้าใจว่าภาพในโทรทัศน์สื่ออะไร เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
การที่เราจะจัดสื่อเพื่อเด็กให้ส่งผลกระทบในแง่ดีต่อเด็กให้มากที่สุดนั้น เราควรต้องคำนึงถึงเรื่อง
หลักๆ 3 เรื่องคือ การส่งเสริมจินตนาการของเด็ก การที่เด็กในวัย 3-5 ขวบนั้นเป็นวัยที่ชอบเลียนแบบและสุดท้ายคือเรื่องดนตรีประกอบที่สามารถส่งผลถึงพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กได้ตามที่งานวิจัยได้พบ  สื่อจึงควรที่จะคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้เป็นสำคัญเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเยาวชนของชาติ ซึ่งจะกลายเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า เพื่ออนาคตของชาติสืบต่อไป

สื่อเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซึ่งในปัจจุบันสื่อที่เหมาะสมกับเด็กตามช่วงวัยต่างๆนั้นยังน้อย การ
ผลิตสื่อที่สร้างสรรค์จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านจริยธรรมที่ต้องส่งเสริมกันในหลายๆรูปแบบ สอดแทรกและเสริมสร้างให้บ่อย ซึ่งสื่อมีความสามารถในด้านนี้ สื่อเป็นช่องทางที่มีศักยภาพและประโยชน์มากมาย แต่เราจะดึงศักยภาพของสื่อออกมาเพื่อพัฒนาสังคมและเยาวชนอย่างเต็มที่ได้อย่างไร

สื่อกับเด็ก in my opinion(เน้นโทรทัศน์)
       เรื่องสื่อกับเด็กมันเป็นอีกเรื่องที่ค่อนข้าง sensitive และค่อนข้างจะตรงกันข้ามกันในสังคมไทย คำว่าตรงกันข้ามกันหมายความว่า สื่อส่วนใหญ่ของประเทศไทยเท่าที่สังเกตจะไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเท่าไหร่ (เราจะไม่พูดถึงพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ หรือ Social interaction เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองจะต้องจัดสรรเวลาให้ถูกต้องสำหรับเด็กในการรับสื่อ) ส่วนใหญ่รายการต่างๆในประเทศไทยจะเน้นตอบ demand ของสังคมเป็นหลัก ซึ่งถ้าตามในแง่ทฤษฎีของฟรอยด์แล้ว เราก็คงจะเดาได้ไม่ยากว่าส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องความก้าวร้าว รุนแรง และเรื่องเพศ
       ในเมื่อสื่อส่วนใหญ่ผลิตรายการที่ตอบสนองต่อสัญชาตญาณคนออกมาเช่นนี้แล้ว ก็คงจะเป็นเรื่องลำบากในการที่จะพัฒนาเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย พัฒนาเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคม โดยเฉพาะประเด็นสำคัญในปัจจุบันคือประเด็นเรื่อง “จริยธรรม”
       จริยธรรมมีความสำคัญมากในเด็ก เพราะในวัยเด็กนั้นเปรียบเสมือนเป็นวัยแห่งการเริ่มต้นของชีวิต ชีวิตต่อๆไปในอนาคตส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับวัยเด็ก การที่จะผลิตสื่อเพื่อส่งผลด้านพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง คำถามคือ เราจะทำรายการต่างๆให้ส่งผลในแง่บวกต่อพฤติกรรมด้านจริยธรรมของเด็ก
       สิ่งที่ผมคิดก็คือเราควรที่จะใส่เป็นลักษณะสอดแทรกเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เหมือนที่ปัจจุบันโรงเรียนที่เน้นด้านจริยธรรมก็มีการบูรณาการคุณธรรมใส่เข้าไปในวิชาต่างๆที่เด็กเรียน เพราะการที่เราสอดแทรกเข้าไปในสิ่งที่เราต้องการสื่อออกไปที่เด็กนั้น เป็นการทำให้เด็กสามารถมีต้นแบบในการเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง และไม่ส่งผลให้รายการเป็นรายการที่น่าเบื่อ(ส่งผลในแง่รายรับจากธุรกิจโฆษณา)
       วัยเด็กนั้นเป็นวัยแห่งจินตนาการ เป็นวัยแห่งรากฐานของชีวิต ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในเรื่องสิ่งที่เด็กจะได้รับในแต่ละวัน ซึ่งปัจจุบันเรื่องสื่อก็เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อตัวเด็กมาก เราจึงควรที่จะสนใจในจุดนี้ให้มากๆ เพื่ออนาคตที่สมควรจะเกิดในประเทศไทย และในโลกต่อไป
ณิชชา อิงสุธรรม
อุสา บุญเพ็ญ
จิรารัตน์ สุพร
วิรงรอง พานิช
ปิยะดา พิชิตกุศลาชัย
พัทริก เทพอารักษ์

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารเสริมของเด็ก

อาหารเสริมของเด็ก

เมื่อแรกคลอดอาหารหลักของเด็กทารก คือ นมค่ะ ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่หรือ นมกระป๋องก็แล้วแต่ พออายุประมาณ 4 เดือน ขึ้นไป แพทย์ก็จะแนะนำให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารเสริม เพื่อให้เขาได้รับสารอาหารต่างๆ ได้มากขึ้น นอกจากนั้น ก็ยังเป็นการฝึกให้เด็กได้รู้รสชาติของอาหารอื่นๆ ไปพร้อมๆ กันด้วย
อาหารเสริมที่คุณพ่อคุณแม่ จะให้ลูกรับประทานในระยะเริ่มแรก อาจเริ่มที่ข้าวบดผสมกับน้ำต้มผัก กล้วยน้ำว้าครูก หรือ ธัญญพืชสำเร็จรูป ในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักกับรสชาติของอาหาอื่นๆ นอกเหนือจากนม แล้วคุณพ่อคุณแม่ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนชนิดของอาหารเสริมไปทีละอย่างในแต่ละสัปดาห์ โดยเฉพาะไข่ ควรให้เด็กรับประทานเฉพาะไข่แดงก่อนสัก 1 ปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพ้โปรตีนในไข่ขาว ที่มักพบได้บ่อยๆ ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีอาหารเสริมสำเร็จรูปวางขายอยู่มากมายในท้องตลาด ทั้งชนิดเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ แต่ถ้าหากคุณแม่มีเวลา ทำอาหารเสริมให้ลูกรับประทานเองทุกมื้อ ก็จะมีประโยชน์ มีคุณค่ามากกว่าอาหารสำเร็จรูป ที่สำคัญคือประหยัดเงินกว่าและปลอดภัยกว่า อาหารสำเร็จรูป ที่มักจะมีสารกันบูดและเกลือผสมอยู่ ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย

A.ภาวะปกติ:
1.1เด็กสะอึก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดถึงอายุ4-5เดือนมักเป็นหลังกินนมแก้ไขโดยให้ดูดน้ำหรือนมเร็วเร็วการสะอึกจะน้อยลงแล้วหายไปเอง การสะอึกจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นจนหายไปเอง
1.2เด็กสำรอกนม,อาเจียน เด็กมักจะมีการสำรอกนมได้บ้างหลังวกินนมประมาณ1 ชม.เป็นนมที่ยังย่อยไม่เสร็จเป็นก้อนเล็กๆปนกับนำนมปริมาณไม่มากซึ่งไม่ใช่ภาวะผิดปกติไม่ต้องวิตกกังวล  แต่ในทารกบางคนอาจมีการอาเจียนหลังกินนมทันทีซึ่งมีหลายสาเหตุ คือ 1 กินนมมากเกินไป เช่นลูกร้องเมื่อไหร่ให้กินนมทุกครั้งการที่ลูกร้องอาจไม่หิวก็ได้  นมล้นกระเพาะอาหารเด็กก็อาเจียนออกมาได้  2 ภาวะการไหลย้อนกลับของนมเนื่องจากหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเจริญไม่เต็มที่ ภาวะนี้ถ้าอาเจียนเล็กน้อยเด็กกินนมต่อได้ เจริญเติบโตดีไม่จำเป็นต้องให้ยา วิธีแก้ไขคือ
ให้ลูกนอนหัวสูงเวลาให้นม หลังกินนมเสร็จอย่าเพิ่งจับเรอให้ลูกนอนนิ่งที่สุด ให้ลูกกินนมทีละน้อยแต่กินบ่อยให้อาหารเสริมเร็วที่อายุ3 เดือน อาหารหนักท้องเด็กจะไม่อาเจียน ภาวะนี้จะดีขึ้นตามวัย และหายได้เมื่ออายุ4-7 เดือน3.ภาวะการอุดตันของกระเพาะอาหาร  เด็กจะอาเจียนพุ่ง นำหนักลด ผอมลง ถ้าเด็กอาเจียนมากและเลี้ยงไม่โตครปรึกษาแพทย์
1.3เด็กถ่ายอุจจาระบ่อย จากการกินนมแม่ เด็กที่กินนมแม่อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง เละเละอาจมีนำปนเล็กน้อย ในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกจะถ่ายบ่อย 5-6ครั้ง/วันหลังจากนั้นจะถ่ายลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง/วัน ถ้าลูกกินนมแม่แล้วถ่ายลักษณะนี้ไม่ต้องกังวลใจ
1.4ภาวะรูก้นเป็นแผล[Anal Fissure] เนื่องจากเด็กเล็กมีการถ่ายบ่อยเกิดการระคายเคืองทำให้รอบรอบรูก้นเป็นแผลได้ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมาเพราะลูกเจ็บแผลจึงไม่ยอมเบ่งถ่าย วิธีป้องกันคือ ใช้วาสลินทาบริเวณรูก้นให้ลูกหลังทำความสะอาดทุกครั้งแต่ถ้าก้นเป็นแผลแล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาทาลดการอักเสบและรักษาแผล

1.5ภาวะคัดจมูกในทารกเด็กทารกจะมีน้ำมูกในจมูกออกมาทุกวัน ควรเช็ดน้ำมูกให้ลูกหลังอาบน้ำเช้า-เย็นโดยใช้ไม้พันสำลีหรือกระดาษทิชชู่ม้วนเล็กๆเช็ดให้ลูกเบาๆระวังไม้กระแทกจมูกลูกลูกจะเจ็บต่อไปอาจไม่ยอมให้ทำอีก
1.6ภาวะร้อง 3 เดือนหรือการปวดท้องโคลิก ภาวะนี้อาจเกิดหลังจากออกจากโรงพยาบาลหรือเมื่ออายุ3-4 สัปดาห์เด็กจะร้องตอนหัวค่ำ ร้องเป็นพักๆนาน 1-3 ชั่วโมง ภาวะนี้เชื่อว่าเกิดจากเด็กมีการปวดท้องเมื่อลำไส้บีบตํวเด็กจะร้องเป็นพักๆอาจเนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเจริญไม่เต็มที่ วิธีแก้ไข ควรอุ้มทารกพาดบ่า ปลอบโยนลูก อาจให้ญาติผู้ใหญ่ช่วยอุ้ม อย่าเครียดเพราะเด็กจะรับรู้และยิ่งร้องมาก ถ้าอุ้มเดินแล้วเด็กร้องน้อยลงจนหลับได้ก็ไม่ต้องให้ยาแต่ถ้าร้องมากอาจให้ยาแก้ท้องอืด กล่มยา SIMETICON เด็กจะสบายขึ้นแต่ในรายที่ร้องมากอาจต้องให้ยาแก้ปวดท้องซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังควรปรึกษาแพทย์
1.7การมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดชั่วคราวในทารกแรกเกิดตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องจะได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากแม่ ฮอร์โมนนี้ทำให้มดลูกในเด็กผู้หญิงหนาตัว เมื่อเด็กคลอดออกมาฮอร์โมนจากแม่ลดลงอย่างรวดเร็วผนังมดลูกจะลอกตัวจึงมีเลอดออกทางช่อง ส่วนตกขาวและอวัยวะเพศบวมก็เกิดจากฮอร์โมนจากแม่เช่นกันเมื่อฮอร์โมนหมด ภาวะต่างๆเหล่านี้ก็จะหายไป

B.ภาวะผิดปกติ 
2.1 สะดืออักเสบ สายสะดือจะถูกตัดออกเมื่อลูกคลอดเหลือยาวประมาณ5 ซม. ควรเช็ดสะดือให้แห้งหลังอาบน้ำ เช็ดวันละ 2 ครั้งด้วยอัลกอฮอล์ เช้า เย็น เช็ดให้ถึงโคนไม่ต้องกลัวลูกเจ็บเวลาเช็ดสะดือลูกอาจจะร้องบ้างเพราะรู้สึกรำคาญแต่ลูกจะไม่เจ็บถ้าเช็ดสะดือดี จะหลุดภายใน7-10 วันแต่ถ้าเช็ดไม่สะอาด สะดือจะแฉะ อ้กเสบ ติดเชื้อ หลุดช้า ในบางรายการติดเชื้อรุกลามเข้ากระแสเลือดเป็นอันตราย
2.2ทารกนอนมากเกินไป ทารกปกตินอนวันละ 20-22 ชั่วโมง และจะตื่นมาร้องกินนมวันละ8 มื้อ ถ้าทารกนอนมากเกินไป ไม่ตื่นมาร้องกินนมภายใน4-5 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติควรพบแพทย์หาสาเหตุ ภาวะที่ทำให้เด็กมีอาการดังกล่าว เช่น
ภาวะฮอร์โมนทัยรอยด์ในเลือดต่ำ ตัวเหลืองมากเกิน การติดเชื้อ เป็นต้น
2.3ถุงน้ำตาอักเสบ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา พบได้บ่อยในทารกตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะมีน้ำตาไหลคลอตาข้างที่มีการอุดตัน อาจมีการอักเสบติดเชื้อมีขี้ตามาก วิธีแก้ไข ใช้นิ้วก้อยนวดหัวตาด้านจมูกโดยกดเบาๆจากหัวตาลงสู่จมูก20-30/ครั้ง วันละ 2-3 รอบ ใช้เวลา2-3 เดือนท่อนำตาจะเปิดเอง ถ้าอายุ10เดือนท่อน้ำตายังไม่เปิดจำเป็นต้องพบหมอตาเพื่อพิจารณาแยงท่อน้ำตาให้เปิด
2.4ภาวะคอเอียง เกิดจากกลามเนื้อด้านหนึ่งมีการหดตัวมากกว่าปกติวิธีแก้ไขให้จับลูกนอนหันไปทางด้านที่กล้ามเนื้อหดตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อยืดออก ทำทุกวัน ค้างไว้ 10วินาทีคอลูกจะกลับมาตรงได้ถ้าภายใน 6 เดือนไม่ดีขึ้นต้องรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อ
2.5มีเชื้อราในปากลักษณะเป็นคราบสีขาวหนาที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจทำให้เด็กเจ็บและกินนมน้อยลง สาเหตุเกิดจากหลังกินนมจะมีนมเหลือค้างในปากทำให้เชื้อราเติบโต แก้ไขโดยหลังกินนมทุกครั้ง(โดยเฉพาะนมกระป๋อง)ควรให้ลูกกินน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อล้างปาก  ถ้าเป็นมากควรพบแพทย์เพื่อให้ยารักษาเชื้อรา
2.5ผื่นแพ้ผ้าอ้อม เด็กบางคนเมื่อใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอาจแพ้เป็นผื่นแดงบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม วิธีแก้ไขควรทาวาสลีนก่อนใส่ผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้ง ถ้าแพ้มากอาจต้องใช้ยาแก้แพ้ทาเด็กวัย 3  เดือนแรกนอนไม่ดิ้น กลางวันไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ใช้ผ้ายางปูใช้ผ้าอ้อมปูทับถ้าลูกขับถ่ายให้แช่ผ้าอ้อมในน้ำแล้วซัก กลางคืนค่อยใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป






เด็กพิการ

เด็กพิเศษ หรือเรียกเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือกลุ่มเด็กที่ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ด้วยวิธีการปกติตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูตามปกติ หรือการเรียนการสอนตามปกติทั่วไป เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่มีอยู่ในตัวเด็ก ทางด้านร่างกาย สติปัญญา พฤติกรรม อารมณ์ หรือสัมพันธภาพทางสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการพิเศษ เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กมีศักยภาพเต็มตามที่มีอยู่ได้

มีหลายมุมมองทางความคิดเกี่ยวกับแนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ซึ่งไม่มีผิด ไม่มีถูก เพียงแต่ต้องมีการทบทวนความคิดอย่างเข้าใจ และพัฒนามุมมองของเราเองให้ถูกต้องตามที่เห็นว่าควรเป็น

บางคนมองว่า “อย่าไปบังคับเด็กเลย สงสารเด็ก”

บางคนก็มองว่า “ทำไมไม่ฝึกเด็กล่ะ เดี๋ยวก็ทำอะไรไม่เป็นหรอก”

บางคนก็มองว่า “เด็กก็ทำได้แค่นี้ จะไปเอาอะไรมากมาย”

บางคนก็มองว่า “เดี๋ยวโตขึ้นก็ดีเอง อย่าไปกังวลเกินเหตุ”

บางคนก็มองว่า “ต้องทุ่มเทฝึกกระตุ้นเด็กให้เต็มที่เท่าที่มีแรงทำ”

แนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ไม่ว่าจะไปในทิศทางใดก็ตาม ถ้าเริ่มต้นจากการดูแลด้วยความรัก แล้วค่อยๆ พัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็จะไปสู่จุดหมายปลายทางของการทำให้เด็กมีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ไม่ยาก

การดูแลด้วยความรัก ก็คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนมีอยู่เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเน้นย้ำ เนื่องจากในความรักที่มีอยู่นี้ มักจะถูกบดบังด้วยความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ และความรู้สึกอื่นๆ อีกมากมายในบางช่วงเวลา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นมาได้ในการดูแล แต่จำเป็นต้องหาวิธีจัดการความรู้สึกต่างๆ อย่างเหมาะสมต่อไป

สำหรับการพัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้วต้องมีกระบวนการพัฒนาที่พิเศษ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ หลักเบื้องต้นง่ายๆ ในการพัฒนา คือ

“เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย”

“เด็กเป็นตัวตั้ง” กล่าวคือ ไม่มีสูตรสำเร็จรูปสำหรับการดูแลเด็กพิเศษทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอายุ ควรเข้าใจธรรมชาติที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกัน เด็กอาจมีความบกพร่องในบางด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในบางด้านเช่นกัน การมองแต่ความบกพร่องบางด้าน และคอยแก้ไขความบกพร่องไปเรื่อยๆ ก็อาจถึงทางตันในที่สุด ควรหันกลับมามองในด้านความสามารถของเด็กด้วยว่าเด็กมีความสามารถด้านใดบ้าง เพื่อวางแผนการดูแล ให้การส่งเสริมความสามารถที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถช่วยชดเชยความบกพร่องที่มีอยู่ได้

ดังนั้นการดูแลต้องวางแผนให้สอดคล้องกับสิ่งที่เด็กมี และสิ่งที่เด็กเป็น โดยวางแผนเฉพาะรายบุคคล ให้มีความเหมาะสมตามวัย และตามพัฒนาการของเด็ก

“ครอบครัวเป็นตัวหาร” กล่าวคือ ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลเด็กพิเศษ และคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ถ้าครอบครัวไม่ดูแล แล้วจะมีใครดูแลได้ดีกว่าอีกเล่า

แต่ในการดูแลนั้น การมีความรักอยู่เต็มเปี่ยม อาจจะไม่เพียงพอ ถ้าขาดความเข้าใจ การมีความรู้ มีเจตคติที่ถูกต้อง และมีทักษะ พัฒนาเทคนิควิธีให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ควรมีทั้งครอบครัว ต้องเน้นคำว่า “ ครอบครัว ” เพราะว่าไม่มีใครเก่งคนเดียว ต้องให้ความไว้วางใจกัน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ครอบครัวเข้มแข็งคือพลังแห่งความสำเร็จ

ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อย คือ มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนเกินไป แม่ดูแลเด็กอย่างทุ่มเท ในขณะที่พ่อพยายามทำงานหนักขึ้น เพื่อจุนเจือครอบครัว ในที่สุดก็เกิดช่องว่าง พ่อก็เริ่มไม่มีทักษะการดูแลเด็ก แม่ก็ไม่ไว้ใจให้พ่อดูแล ช่องว่างก็มากขึ้น จนเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาในที่สุด

การเริ่มต้นและพัฒนาที่ดี คือการสุมหัวเข้าหากัน คุยกัน ไว้วางใจกัน และหารความรัก ให้ทุกคนในครอบครัวมีโอกาสช่วยเหลือเด็กเท่าๆ กัน

“ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย” ณ วันนี้ ความก้าวหน้าทางวิชาการมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลใหม่ๆ มีเพิ่มเติมตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่คนเดียวจะรู้ทุกอย่าง มีทักษะทุกด้าน ตัวช่วยจึงมีความจำเป็น

ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย จิตแพทย์เด็ก พยาบาล นักจิตวิทยา นักแก้ไขการพูด นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ครูการศึกษาพิเศษ หรือวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นตัวช่วยที่สามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษา และสาธิตเทคนิควิธีต่างๆ ให้นำไปฝึกปฏิบัติต่อไปได้

แต่ต้องไม่ลืมว่า ผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น ไม่ใช่ตัวหลักอย่างเช่นครอบครัว ฉะนั้นถ้าบทบาทผิดเพี้ยนไปจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญกลายเป็นตัวหลักขึ้นมา จะทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพที่มีอยู่จริง เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เชี่ยวชาญจะรู้จัก และเข้าใจเด็กได้ดีกว่าครอบครัวที่อยู่กับเด็กตลอด

เมื่อมองจุดสุดท้ายที่เด็กพิเศษควรจะเป็น คือ พัฒนาเต็มตามศักยภาพที่เขามีอยู่ ถ้ายังไม่ถึงจุดนั้น ณ วันนี้ ก็ไม่เป็นไร เพราะวันหนึ่งต้องไปถึงแน่นอน ถ้ายังมีการดูแลด้วยความรักและพัฒนาด้วยความเข้าใจ โดยยึดหลัก

“เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย”

จุดหมายปลายทางเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวัง แต่ระหว่างทางที่ไปสู่จุดหมายนั้น มีสิ่งสวยงามให้ชื่นชมมากมาย พัฒนาการของเด็กพิเศษแต่ละขั้น ก็คือสิ่งสวยงามที่น่าชื่นชม การชื่นชมสิ่งสวยงามที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ คือ กำลังใจที่ดีที่สุด

เด็กก้าวร้าว" พฤติกรรมตามวัยจริงหรือ?

การแสดงความก้าวร้าวของเด็กเล็กอาจเกิดขึ้นได้ เช่น พูดจาหยาบคาย ต่อว่า ไม่เคารพผู้อื่น ทุบตี หยิก กัด ผลัก ขว้างปา ทำลายสิ่งของหรืออาจรุนแรงถึงขั้นทารุณกรรมสิ่งมีชีวิตให้บาดเจ็บหรือล้มตาย และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการฝึกเด็กให้ละเมิดสิทธิผู้อื่นจนเกิดความเสียหายทางร่างกาย ทรัพย์สิน หรือทำให้ผู้อื่นกระทบกระเทือนจิตใจ

ทั้งนี้ ความก้าวร้าว อาละวาดง่ายในเด็กอายุ 2 - 5 ปีอาจเกิดขึ้นได้เพราะยังเป็นวัยที่ขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือเด็กบางคนมีพื้นเพทางอารมณ์เป็นเด็กเลี้ยงยาก ปรับตัวยาก จึงเกิดความคับข้องใจและแสดงออกโดยการอาละวาดได้บ่อย ซึ่งสาเหตุของความก้าวร้าวอาจมาจาก

1. สาเหตุทางชีวภาพ อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น พ่อแม่มีอารมณ์ร้าย ดุ ก้าวร้าว ฉุนเฉียวง่าย อาละวาดเก่ง หรือถ้าพบว่าเด็กแสดงออกอย่างก้าวร้าวมาก ๆ และเป็นบ่อย ๆ ควรคำนึงถึงโรคใดโรคหนึ่ง เช่น สมาธิบกพร่อง ไฮเปอร์แอคทีฟ ออทิสติก หรือสมองพิการ

2. สภาพจิตใจของเด็ก เด็กไม่มีความสุข เศร้า กังวล ขี้ตื่นเต้น ตกใจง่าย เด็กที่คับข้องใจบ่อย ๆ และถูกกดดันเสมอ ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กหงุดหงิดและอาจแสดงวาจากิริยาก้าวร้าวได้

3. การเลี้ยงดูภายในครอบครัว
- การทอดทิ้งไม่เอาใจใส่ดูแลเด็ก
- การลงโทษรุนแรง
- การตามใจและยอมตามเด็กเสมอ
- การทะเลาะกันภายในครอบครัว
- การยั่วยุอารมณ์ให้เด็กโกรธ
- การขาดระเบียบวินัยในชีวิต
- การที่เด็กทำผิดแล้วผู้ใหญ่ให้ท้าย
- การสื่อความหมายไม่ชัดเจน ทำให้เด็กสับสน กังวล ไม่รู้จักความผิดที่แน่นอน

4. จากสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม เด็กที่ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีโอ ที่แสดงออกถึงความก้าวร้าวรุนแรง ไม่มีกิจกรรมอื่นที่เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อคลายเครียด เมื่อถูกเร้าให้เกิดความเครียดส่วนใหญ่ก็มักจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้ง่าย

นอกจากนี้ข่าวสารต่าง ๆ ปัญหาความเครียดในสังคม ท่าที ทัศนคติของเพื่อน คุณครู ฯลฯ ล้วนก่อให้เกิดความเครียดหรือเป็นแบบอย่างของความก้าวร้าวได้ทั้งสิ้น และเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ตลอดจนผู้เลี้ยงดูในการช่วยเหลือปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กให้ดีขึ้นได้

วิธีป้องกันและแก้ไข

1. ผู้ใหญ่ต้องหยุดการกระทำอันก้าวร้าวของเด็กโดยทันที และต้องไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรงเพราะเป็นการสอนให้เด็กเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว เช่น หากเด็กมีการขว้างปาสิ่งของ หรือทุบตีผู้อื่น อาจจัดการให้เด็กหยุดด้วยวิธีสงบ เช่น จับมือรวบตัวเอาไว้ บอกสั้น ๆ ว่าตีไม่ได้ และของชิ้นนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อปา ในขณะเดียวกัน การพูดว่า "แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่เราไม่อนุญาตให้ตีกัน และแม่ก็ไม่อนุญาตให้น้องทำกับหนูเช่นกัน" จะเป็นตัวช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้สึกโกรธ และหยุดยั้งการกระทำของเด็กได้ในเวลาเดียวกัน

2. แนะนำทางออกอื่นให้เด็ก เช่น เมื่อเด็กโกรธกันขึ้นมา ก็สามารถเดินมาบอกผู้ใหญ่ให้ว่ากล่าวคู่กรณีได้ แต่ตีกันไม่ได้ เด็กจะเรียนรู้ว่า การก้าวร้าวเป็นสิ่งที่เราไม่ยอมรับ แต่เราเข้าใจความรู้สึกเขา และเตรียมทางออกที่เหมาะสมเอาไว้ วิธีนี้ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ แม้จะพบว่าเด็กมีอาการอีกเป็นครั้งคราวเพราะเด็กยังระงับอารมณ์ได้ไม่หมด

3. ไม่ควรตอบตกลง หรือต่อรองกันในขณะที่เด็กมีอารมณ์หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่า ผู้ใหญ่จะตอบสนองความต้องการของเขา เฉพาะในช่วงที่อารมณ์สงบ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเท่านั้น

4. ผู้ใหญ่ต้องระวังที่จะไม่มีอารมณ์ตอบโต้เด็ก หรือเอาชนะกัน

5. การลงโทษเด็กไม่ควรใช้ความรุนแรง อาจใช้วิธีแยกเด็กอยู่ตามลำพังระยะหนึ่ง (Time Out : 1 นาทีต่อเด็กอายุ 1 ปี) โดยมีการสื่อให้เด็กเข้าใจว่า การรบกวนผู้อื่นเป็นสิ่งไม่สมควร เมื่อสงบแล้วค่อยมาพูดจากันใหม่ บางครั้งอาจใช้วิธีงดสิทธิบางอย่างเข้าช่วยด้วย

6. ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตนเอง เช่น ซ่อมแซมของที่ชำรุดเสียหาย (โดยพิจารณาตามความเหมาะสมค่ะ)

7. หลีกเลี่ยงการตำหนิ ต่อว่า เปรียบเทียบ ให้เด็กรู้สึกเป็นปมด้อย การขู่หรือหลอกให้กลัว ตลอดจนการยั่วยุให้โกรธ โดยผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างของความปรองดอง เป็นมิตรต่อกันให้เด็กเห็น

เรียบเรียงข้อมูลจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี



ข้อมูลข่าวโดยหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ออนไลน์วันที่ 23 กรกฎาคม 2552