วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับ 4 ประการในการป้อนอาหารเด็กวัยหัดเดิน

เคล็ดลับ 4 ประการในการป้อนอาหารเด็กวัยหัดเดิน

จากการสำรวจในโครงการ The Feeding Infants and Toddlers Study (FITS) เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
เรื่องพฤติกรรมการทานอาหารของเด็กวัยหัดเดินให้มากขึ้น การที่ได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วเด็กทานอะไร ก็สอนเรา
ได้มากขึ้นด้วยว่าควรเตรียมอะไรให้เด็กบ้าง ลองทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ดู
1. ฉลาดเลือกอาหาร
พอลูกน้อยเริ่มหย่านมแม่ หรือนมผง ก็จะเริ่มมีช่องว่างทางโภชนาการเป็นธรรมดา จึงสำคัญมากที่คุณแม่
จะเลือกอาหารอย่างไรให้ลูก ควรเน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อยที่สุด เนื้อไร้มัน
และผลิตภัณฑ์จากนม เหล่านี้ให้มากหน่อย เนื่องจากเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารจำเป็นต่อการ
เจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก
2. ฉลาดเลือกของว่าง
โดยปกติ เด็กจะรับแคลอรี่ในปริมาณ 25% จากอาหารว่าง ดังนั้น ทุกคำที่ลูกน้อยทานก็มีความหมาย
ควรให้ลูกทานผักและผลไม้เยอะๆ ส่วนอาหารบางจำพวกที่มีแคลอรี่สูง แต่คุณค่าทางโภชนาการต่ำ
(มันฝรั่งทอด คุกกี้ น้ำดื่มที่มีปริมาณส่วนผสมของน้ำตาลเยอะ) นั้น ให้ทานเป็นครั้งคราวก็พอ

3. ดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์
เครื่องดื่มต่าง ๆ มีความสำคัญต่อการคงสภาพความชุ่มชื้น แต่การดื่มน้ำมากเกินไป จะทำให้ลูกน้อย
รู้สึกอิ่มจนไม่อยากทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรจำกัดปริมาณนมอยู่ที่วันละ 2 ถ้วย ควรให้ลูก
ดื่มน้ำ และน้ำผลไม้ 100%ต่อหนึ่งหน่วย 1 ในปริมาณ 4-6 ออนซ์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานจาก
น้ำตาลหรือน้ำตาลเทียม

4. เลือกทานแต่ไขมันดี
ไขมันที่มีประโยชน์มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองของเด็ก จากการศึกษา
พบว่าเด็กวัยหัดเดินจำนวน 1 ใน 3 จะได้รับกรดอัลฟา ไลโนเลนิก โอเมก้า 3 ไม่เพียงพอ และยังมีเด็ก
อีกมากที่ขาดวิตามินอี แอนตี้อ๊อกซิแดนท์ซึ่งพบมากในไขมัน คุณแม่อาจจะลองผสมน้ำมันถั่วเหลือง
หรือน้ำมันที่ได้จากการสกัดเมล็ดคาโนลา ลงไปในอาหารที่เตรียมให้ลูก แต่ควรเลี่ยงอาหารที่มี
ทรานส์แฟต (Transfat หรือไขมันอันตรายที่ทำจากไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเพื่อให้เป็นไขมันที่คงตัว
ในอาหารสำเร็จรูป และสามารถเก็บไว้ได้นานๆ)

1การเลือกผักและผลไม้ให้กับเด็กวัยหัดเดิน ในหนึ่งหน่วยนั้น ส่วนหนึ่งควรจะมาจาก น้ำผลไม้
100% ในปริมาณ 4 ออนซ์ และส่วนที่เหลือ ควรจะมาจากน้ำสกัดเข้มข้นจากผลไม้ที่ปอกเปลือกแล้ว

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยเสียงดนตรี
ว่ากันว่าเด็กที่ได้ฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จะทําให้คลอดออกมาแล้วเป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย แต่ที่จริงแล้ว เพลงและเสียงดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กในทุกช่วงวัยทั้งตอนอยู่ในท้องแม่หรือเมื่อคลอดออกมาแล้ว คุณแม่จึงควรเลือกดนตรีที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกน้อยด้วยค่ะ
 
เสียงดนตรีตามวัย
เสียงดนตรีที่ลูกน้อยควรได้รับฟังในแต่ละช่วงวัยนั้น ควรเป็นไปตามอายุที่โตขึ้นของลูกน้อย เพราะยิ่งลูกโตขึ้นการรับรู้และระบบประสาทของลูกน้อยก็จะสามารถฟังเพลงที่ซับซ้อนและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพลงเหล่านั้นได้มากยิ่งขึ้น
• วัย 1-3 เดือน ลูกจะชอบฟังเพลงสบายๆ ช้าๆ หรือเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งการฟังเพลงกล่อมจากแม่หรือเสียงที่มีความนุ่มนวล อ่อนโยน จะทําให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ในวัยนี้ลูกจะเริ่มมองหาที่มาของเสียงที่ได้ยิน แสดงความชอบใจและเริ่มเปล่งเสียงตอบสนองในลําคอได้
• วัย 4-5 เดือน ลูกเรียนรู้จังหวะได้มากขึ้น ตอบสนอง ต่อจังหวะและทํานอง เมื่อได้ยินจังหวะที่ชื่นชอบจะยิ้ม ตีมือชอบใจ หรืออาจส่ายหัวตามจังหวะเพลง คุณแม่จึงควรเลือกเพลงหรือดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนานให้ลูกฟัง
• วัย  6-12 เดือน ในวัยนี้ลูกมีพัฒนาการทางภาษามากขึ้นและเริ่มออกเสียงเป็นพยางค์ได้บ้างแล้ว คุณแม่อาจเลือกเพลงที่เป็นคําคล้องจองง่ายๆ ให้ลูกฟัง ซึ่งการให้ลูกฟังเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ ง่ายๆ ลูกจะพยายามส่งเสียงเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน และแสดงท่าทางต่างๆ ตามเพลง เช่น ผงกศีรษะ โน้มตัวไปมา
• วัย 1-3 ขวบ การให้ลูกฟังเพลงหรือดนตรีที่มีความซับซ้อนจะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองของลูกให้เกิดการจัดเรียงตัวและเกิดความคิดสร้างสรรค์ คุณแม่ควรให้ลูกฟังเพลงที่มีทั้งท่วงทํานองและเนื้อร้องที่หลากหลาย ให้ลูกร้องเพลงและเคาะจังหวะตามไปด้วย จะช่วยเพิ่มทักษะทั้งด้านภาษา การทรงตัวของลูกน้อยนอกเหนือจากการฟังด้วย

เสริมพัฒนาการด้วยเสียงดนตรี
• คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้รับฟังดนตรีหลากหลายประเภท แล้วสังเกตว่าลูกชอบฟังดนตรีแบบไหนมากที่สุด
• ร้องหรือฮัมเพลงให้ลูกฟัง เพราะเด็กจะชอบฟังเสียงของพ่อแม่หรือเสียงของมนุษย์ และเมื่อลูกเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างแล้ว ให้พยายามกระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหวตามจังหวะ เช่น โยกตัว ปรบมือ หรือผงกศีรษะ ซึ่งการมีกิจกรรมร่วมไปกับการฟังดนตรีจะยิ่งดีต่อพัฒนาการของเด็กมากขึ้น
• เด็กจะชอบฟังเพลงซ้ำๆ คุณแม่อาจร้องเพลงนั้นให้ฟังบ่อยๆ หรือจะเปลี่ยนเนื้อเพลงไปบ้าง เพื่อให้ลูกรู้สึกแปลกใหม่อยู่เสมอ
• เลือกเพลงที่มีจังหวะช้าๆ เปิดเพลงให้ลูกฟังในช่วงก่อนนอนหรืองีบหลับ เสียงเพลงจะช่วยทําให้ลูกรู้สึกสงบและหลับสบาย
• อย่าเปิดเพลงเสียงดังเกินไปเพราะประสาทการรับเสียงของลูกจะถูกทําลาย
 
ขอบคุณ : น้องกะทิ-ด.ช.ศักดินันท์ ปฏิภาณญาณกิตติ

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมองของลูก ทำงานตั้งแต่แรกเกิด

baby
          รับรู้ความรู้สึก การทำงานของสมองทำให้เรารับรู้การสัมผัสในลักษณะต่าง ๆ สัมผัสอย่างเบา ๆ หรือสัมผัสอย่างรุนแรง ความรู้สึกอุณหภูมิร้อนเย็น หรือความรู้สึกจากร่างกายและใบหน้าทางซีกซ้าย

          ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในทารกแรกเกิด 1-2 เดือนการทำงานพื้นฐานของกล้ามเนื้อจะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ จะไม่ไขว่คว้าของเล่นแต่จะเคลื่อนไหวแขน ขา มือ เท้า ซึ่งเป็นการทำงานของสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และสมองส่วนเบซาลแกงเกลีย เมื่อเด็กโตขึ้นสมองส่วนหลังของฟรอนทอลโลบที่ติดกับพาราทอลโลบ จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกายให้เป็นไปอย่างมีวัตถุประสงค์และสัมพันธ์กับการเห็น เช่น สั่งให้ยกมือขึ้นไปจับของเล่น เป็นต้น

          การมองเห็น การทำงานของสมองส่วนนี้อาศัยการมองเห็นภาพและนำไปสู่สมองด้วยเส้นประสาทตา ต่อจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็นหรือออกซิปิทอลโลบ ซึ่งอยู่ด้านหลังของสมองใหญ่จะพัฒนาโครงสร้างที่จะตอบรับภาพและแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย แต่ถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาเป็นภาพที่เกี่ยวกับอารมณ์ สมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์หรือลิมบิกเบรนก็จะทำหน้าที่ หรือถ้าเป็นภาพที่ค่อนข้างจะคงที่และสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่สายตาโดยตรงก็จะทำงานโดยสมองอีกส่วนหนึ่งคือ อาร์เบรน

          การได้ยิน สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินคือเทมเพอราลโลบ สามารถตอบสนองต่อคลื่นเสียงต่างๆ ที่เข้ามาถึงตัวเราด้วยการอาศัยความช่วยเหลือจากนีโอคอร์เทกซ์ แปลคลื่นเสียงออกมาโดยตรง จากการวิจัยพบว่าเด็กที่มีแม่หรือพี่เลี้ยงพูดเก่ง มีแนวโน้มว่าเด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ได้มากกว่าเด็กที่มีแม่หรือพี่เลี้ยงที่พูดไม่เก่ง เนื่องจากเซลล์ประสาทในสมองส่วนนี้ได้รับข้อมูลและมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อมูลที่ได้รับต้องเป็นเสียงที่มีความหมาย เด็กจะรับจากภายนอกแล้วเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าในเซลล์ประสาทเก็บไว้เป็นข้อมูล

          การได้กลิ่น เด็กแรกเกิดสามารถแยกแยะความแตกต่างของกลิ่นนมแม่ตัวเองกับแม่คนอื่นได้ กลิ่นจะเข้าไปในสมองโดยผ่านเส้นประสาทโอลแฟกตอรี่(olfactory nerve)ไปที่สมองส่วนหน้าฟรอนทอลโลบ ซึ่งเป็นสมองส่วนเดียวกับที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์

          ระบบประสาทอัตโนมัติ สมองยังทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วยประสาท 2 ส่วนที่เรียกว่า ซิมพเทติก(Sympathetic)และพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และ ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย

          สิ่งสำคัญที่สุดในการเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่อยู่ที่การให้ประสบการณ์ที่ดีในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิตเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก เพราะสมองของเด็กตั้งแต่หลังคลอดจะมีน้ำหนักเกือบเท่าสมองของผู้ใหญ่ พ่อแม่มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการของสมองในเด็กได้ถ้าเขาได้รับสิ่งที่ดี เช่น การสัมผัสที่อ่อนโยน การโอบกอด ป้อนนม การพูดคุย อ่านนิทาน เรื่องโปรดให้เด็กฟัง ทุกสิ่งที่ได้ทำนั้นจะช่วยให้สมองของเด็กมีการพัฒนาการไปอย่างรวดเร็วมาก

          ในทางตรงกันข้าม ถ้าในช่วงวัยเด็กเล็กนี้เด็กได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม เช่น อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี มีการพูดคุยด้วยคำที่ไม่สุภาพ หรือพ่อแม่ระบายอารมณ์กับเด็กบ่อยๆ ย่อมทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้น ขาดความอบอุ่น และพยายามแสวงหาสิ่งอื่นมาทดแทนตอนโตต่อไป ซึ่งอาจจะทำให้กลายเป็นเด็กก้าวร้าวในอนาคตได้ค่ะ

          อย่าลืมว่าเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้านะคะ เพราะฉะนั้นมาดูแลสมองของลูกให้ได้เรียนรู้แต่สิ่งที่ดีตั้งแต่เล็กกันเถอะค่ะ


"สมอง"ของลูกทำงานตั้งแต่แรกเกิด  (รักลุก)


          สมอง จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะสมองมีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ พฤติกรรมและอีกหลาย ๆ อย่าง สมองของคนเราทำงานโดยเครือข่ายเส้นใยประสาทของกลุ่มเซลล์ประสาท การทำงานในกลุ่มเซลล์ประสาทแต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกัน ลองมาดูบทบาทหน้าที่ของสมองกันบ้างนะคะ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษวัย 0-3 ปี

ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษวัย 0-3ปี
ของเล่นหรือการเล่น มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะนำไปสู่กระบวน การเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดั้งนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ได้เข้าใจ และสามารถนำของเล่น หรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก จะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดี และเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถ นำประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ กับการเรียนรู้ในอนาคตได้ อย่างมีคุณภาพ
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-3 ปี
เด็กวัยนี้เรียนรู้ผ่านการเล่น และเรียนรู้ผ่านทางการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส ในวัยนี้เด็กมักชอบนำของทุกชนิดเข้าปาก โดยใช้ปากในการสำรวจของนั้นๆ ทั้งดูด เลีย อม พ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะเหล่านี้ โดยหาของเล่นที่มีขนาดเหมาะมือ น้ำหนักเบา ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลอดภัย ล้างทำความสะอาดง่าย เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะ ในการใช้มือและตาประสานกัน ในการคว้าจับ เขย่า เอาเข้าปาก พ่อ แม่หรือผู้เลี้ยงดู ไม่ควรดึงมือหรือของเล่นออกจากปากเด็ก เพราะจะทำให้เด็กหงุดหงิด อารมณ์เสีย และขาดโอกาสในการใช้ปากสำรวจเพื่อการเรียนรู้ และที่สำคัญพ่อแม่ควรพูดคุย และมีปฎิสัมพันธ์กับลูก ขณะชี้ชวนให้ลูกเล่นอีกด้วย
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำเป็นต้องกระตุ้น การเรียนรู้ของเด็กในทุกด้าน ไม่ว่าจะกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องกระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการใช้ของเล่นที่มีความหลากหลายเพื่อสร้างทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงปัญหา ความต้องการและระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละรายด้วย3
ถึงแม้ว่าพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุก็ตาม แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ไม่เหมือนกับเด็กปกติ เด็กพิเศษเหล่านี้ก็สามารถ พัฒนาศักยภาพของตนได้ และอาจจะมีพฤติกรรมของพัฒนาการ ที่แตกต่างกันออกไปตามปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น เด็กบางคนอาจคืบ แต่ไม่คลาน แต่จะนั่งและยืน เดินเลย บางคนอาจรู้จัก ไขว่คว้าของเล่น ในทิศทางต่างๆ กัน ชอบเอาของเล่นเข้าปาก แต่บางคนก็ทำไม่ได้
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเหลือ ฟื้นฟูศักยภาพของเด็กให้เต็มที่ โดยอาจนำของเล่นให้เด็กได้จับสัมผัส หรือกกระตุ้นให้เด็กได้มีโอกาสนำของเล่น / วัสดุต่าง ๆ เข้าปาก เพื่อ กัด, ย้ำ ,เลียเล่น ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นการเรียนรู้ของเด็ก โดยการใช้ปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ในการสัมผัสวัตถุ / ของเล่น การใช้ตา และมือประสานงานกัน สามารถจับวัตถุ / ของเล่น เข้าปาก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และได้เรียนรู้การสัมผัสพื้นผิว ที่แตกต่างกันของวัตถุ จากการจับ , กัด , ดูด หรือเลีย
พ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางท่าน อาจไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ จึงจำกัด หรือห้ามปราม ไม่ให้เด็กเอาของเข้าปาก อาจเพราะกลัวสกปรกหรือสำลัก ซึ่งจะทำให้เด็กหงุดหงิด , อารมณ์เสีย และไม่เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรเข้าใจ ในพฤติกรรมของเด็ก และส่งเสริมการเรียนทักษะเหล่านี้ ให้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งดูแลเรื่องความปลอดภัย ในการเล่นของลูก โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่น ควรที่จะมีขนาดใหญ่ สีสันปลอดภัย จับ / กำถนัดมือ สามารถให้เด็กได้สัมผัสผ่านการกัด , ดูด , เลียได้ ขนาดและน้ำหนัก ต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน สามารถล้าง / ซัก อุปกรณ์ของเล่นได้ เมื่อสกปรก ตลอดทั้งพ่อแม่ ควรมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ระหว่างการเล่นอีกด้วย อย่าปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียว เพราะเด็กยังไม่รู้จักว่าของเล่นแต่ละชิ้น มีวิธีการเล่นอย่างไร
ความหมายของการเล่น
การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้ การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วย
ประโยชน์ของการเล่น
1.ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน
2.ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
4.ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์
5.ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
6.ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอย ความยืดหยุ่น (flexibility)
7.ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
8.ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
9.ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมุติ
10.ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิ
การเลือกของเล่น ให้เหมาะกับความสามารถของเด็ก ในแต่ละวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กเป็นอย่างมาก พ่อแม่ หรือผู้ดูแล จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกสรรของเล่น และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อเด็ก ให้เกิดศักยภาพในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึง
1.ความปลอดภัย
2.ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก
3.ความสนใจของเด็ก
4.ความสะอาด
5.ความเหมาะสมของราคา
6.วิธีการเล่น
อุปกรณ์ของเล่นและเกมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษวัย0-1ปี
อ้างอิงจาก:www.google.com/www.clinicdek.com