วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

อาหารทารกตามวัย

าหารทารกตามวัย

          เรารู้กันดีว่า นมแม่ เป็นอาหารที่ดีสำหรับลูก เนื่องจากมีปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายในปริมาณที่พอเหมาะแก่การเจริญเติบโต อีกทั้งนมแม่ยังให้ภูมิต้านทานต่างๆ ที่ช่วยป้องกันมิให้ลูกเจ็บป่วยง่าย จึงเป็นข้อสนับสนุนว่าแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกคลอด และสามารถให้นมแม่ได้จนลูกอายุหนึ่งขวบครึ่งถึงสองปี
          อย่างไรก็ตามขณะที่ลูกมีอายุมากขึ้น ความต้องการสารอาหารต่างๆจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นลูกควรได้อาหารอื่นๆ เสริมเพิ่มเติมจากนมแม่ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ร่างกายและสมองของลูกมีพัฒนาการอย่างเต็มทิ่ 
แล้วจะให้อาหารตามวัยเมื่อไหร่?
          ในระยะแรกเกิดถึง 4 เดือนแรก ลูกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เมื่อลูกอายุครบ 4 เดือน จึงเริ่มให้อาหารอื่นในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว เช่น กล้วยสุกครูดหรือข้าวบด ไม่ควรให้ก่อนอายุครบ 4 เดือน เพราะระบบการกลืนและการย่อยของลูกยังไม่พร้อมจะทำให้ลูกกินนมได้น้อยลงและมีปัญหาท้องอืดจากการให้อาหารมากเกินไป
1. จะให้อย่างไร?
1.เริ่มให้ทีละน้อย ทีละชนิด และสังเกตการแพ้อาหารของลูกด้วย
2.เตรียมอาหารให้เหมาะสมกับอายุของลูก เช่น บดอาหารให้ละเอียดในช่วงแรก เมื่อเริ่มมีฟันแล้วจึงให้อาหารที่หยาบขึ้น
3.ไม่ควรปรุงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด ให้ลูก
4.อย่าบังคับให้ลูกกิน ควรจะค่อยๆให้ลูกลองและยอมรับอาหาร
5.ไม่ควรให้น้ำหวานแก่ลูก เพราะจะทำให้ลูกติดรสหวานและเบื่ออาหารได้
            6.ก่อนให้อาหาร 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรให้ลูกกินขนมหรือของกินเล่น เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจนกินอาหารมื้อหลักไม่ได้
7.จะต้องระวังเรื่องความสะอาดให้มาก ทั้งภาชนะ การเตรียมและการปรุง เมื่อปรุงเสร็จแล้วก็ควรปิดฝาให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกท้องเสียได้
8.อาหารที่เตรียมให้ลูกควรเป็นอาหารสด ปรุงใหม่ๆ เพื่อให้คงคุณค่าไว้มากที่สุด
9.ควรสลับเปลี่ยนให้ลูกได้กินอาหารหลายๆชนิด เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจ และให้ลูกชินกับอาหารชนิดต่างๆ และควรใช้อาหารที่หาได้ในท้องถิ่น หรือแบ่งจากอาหารผู้ใหญ่เพื่อเป็นการประหยัด
10.การให้อาหารทุกชนิดแก่ลูกมีความสำคัญมาก เพราะถ้าให้ในปริมาณที่ถูกต้อง และเพียงพอกับความต้องการของลูกแล้ว จะทำให้ลูกแข็งแรง และมีนิสัยในการกินที่ถูกต้องอีกด้วย
2..แล้วลูกต้องกินอะไรบ้าง?

อายุครบ 4 เดือนขึ้นไป

          ข้าวบด 1 ช้อนเล็ก กับไข่แดงต้มสุก ¼ ฟอง สลับกับเนื้อปลาสุกบด หรือกล้วยน้ำว้าสุกครูด (ไม่เอาไส้) ½ ผล แล้วกินนมแม่ตามจนอิ่ม

5 เดือนขึ้นไป

            ข้าวบด 3-4 ช้อนเล็ก กับถั่วต่างๆ ต้มสุกบด ใส่ผักใบเขียวกับน้ำแกงจืด สลับกับไข่แดง เนื้อปลา หรือกล้วยน้ำว้าสุกบด แล้วให้กินนมแม่ตามจนอิ่ม
6-7 เดือน
            ข้าวบดกับเนื้อสัตว์ต่างๆ บดสลับกับตับบด ใส่ผักใบเขียวกับน้ำแกงจืด แล้วให้นมแม่จนอิ่ม ให้อาหารแทนนมแม่ได้ 2 มื้อ และผลไม้วันละครั้ง
10-12 เดือน
            กินอาหารต่างๆ สลับกันไปเช่นเดียวกับเดือนที่ 8-9 แต่เพิ่มปริมาณมากขึ้นและหยาบขึ้น จนกระทั่งไม่ต้องบด แล้วให้กินนมแม่ตามจนอิ่ม ให้อาหารแทนนมแม่ได้ 3 มื้อและผลไม้วันละครั้ง
            อาหารที่เตรียมให้ลูกนั้น สามารถเพิ่มพลังงานให้มากขึ้นได้  โดยการเติมน้ำมันพืช 1-2 ช้อนเล็ก ในอาหารแล้วผสมให้เข้ากัน
            3.สารอาหารอะไรบ้างที่ลูกต้องการ

            สารอาหารหลักที่ลูกต้องการคือ พลังงานและโปรตีน โดยเฉพาะโปรตีนจะช่วยให้เจริญเติบโตและเสริมสร้างเนื้อเยื่อ
            อาหารโปรตีนได้จากอะไร?

          
จากเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ปลา และถั่วเมล็ดแห้ง
ธาตุเหล็ก คืออะไร?
            ธาตุเหล็กเป็นธาตุสำคัญที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
            ทารกแรกเกิดจนถึง 4 เดือนที่ได้รับนมแม่หรือนมผสม จะได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ
            แต่เมื่ออายุเกิน 4-6 เดือนไปแล้ว ความต้องการธาตุเหล็กจะมีมากขึ้น ทำให้ต้องได้รับธาตุเหล็กจากอาหาร
            การเพิ่มธาตุเหล็กทำได้โดยการเสริมไข่แดงสุกหรือตับบดสุกเมื่อลูกอายุ 4 เดือน เนื้อปลา เมื่ออายุ 5 เดือน และเนื้อสัตว์บดเมื่ออายุ 7 เดือน
            วิตามินเอ
            มีความสำคัญมากในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยปรับสภาพการมองเห็นในที่มืด แหล่งของวิตามินเอมีมากมาย ได้แก่ ตับสัตว์ต่างๆ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง แครอท หรือผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น
            แคลเซียม
            เป็นส่วนประกอบของเซลล์กระดูก ซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยทั่วไปทารกที่ได้รับนมแม่หรือนมผสมเพียงพอตามวัยก็จะได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่เหมาะสมด้วยอยู่แล้ว
            แต่แม่อาจเพิ่มอาหารเสริมที่เป็นแหล่งของแคลเซียมสูง เช่น ปลาป่น เต้าหู้ขาว ลงในอาหารของลูกได้
            ไอโอดีน
            เป็นธาตุที่สำคัญช่วยให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานอย่างเป็นปกติ การขาดไอโอดีนจะทำให้ลูกเรียนรู้ได้ช้า มีสติปัญญาด้อยกว่าปกติ การใช้เกลือไอโอดีนในอาหารจะช่วยให้ลูกได้รับไอโอดีนได้ ถึงแม้อาหารทะเลจะมีไอโอดีนเพียงพอ แต่ยังไม่แนะนำให้นำมาเตรียมเป็นอาหารให้ลูก เนื่องจากอาจเกิดการแพ้ได้
            นอกจากนี้ วิตามิน บี 1 บี 2 บี 6 บี 12 โฟเลต ธาตุโซเดียม โปแตสเซียม สังกะสี และฟอสฟอรัส ก็มีผลต่อการเติบโตของลูกด้วย ซึ่งถ้าคุณแม่จัดเตรียมอาหารที่มีทั้งประเภทแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน ผัก และผลไม้ ในแต่ละวันให้ลูก ก็สามารถแน่ใจว่าลูกจะได้สารอาหารครบถ้วนแน่นอน

4.เมื่อจำเป็นต้องใช้นมผสมเลี้ยงทารกแทนนมแม่
กรณีที่แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น แม่เจ็บป่วยมีปัญาหัวนมแตก น้ำนมไม่พอ ฯลฯ ก็อาจมีความจำเป็นต้องใช้นมผสมเลี้ยงลูก แม่ควรได้ปรึกษากุมารแทพย์หรือพยาบาลเพื่อให้สามารถเลือกชนิดของนมผสมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยของลูก
            โดยทั่วไปจะแบ่งนมผสมเป็น 3 ประเภท
            1.นมผงดัดแปลงสำหรับทารก เป็นนมที่ดัดแปลงให้มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน
            2.นมผงดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง เป็นนมดัดแปลงที่มีปริมาณโปรตีนสูงขึ้นและมีการเติมวิตามินและแร่ธาตุลงไป เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3 ปี
            3.นมครบส่วน ผลิตภัณฑ์นี้จะมีได้ทั้งที่เป็นนมผงและนมสดทั่วไป เช่น นมพาสเจอร์ไรส์ นมกล่องยูเอชที ฯลฯ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป
            เนื่องจากนมผงมีหลายประเภท และขนาดช้อนตวงแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปช้อนตวงนมจะมี 2 ขนาดคือ
            1.ช้อนตวงขนาดเล็ก (ขนาดประมาณ 4.5 กรัม) ให้ผสม 1 ต่อ 1 คือ นมผง 1 ช้อน ต่อน้ำ 30 มิลลิลิตร หรือ 1 ออนซ์
            2.ช้อนขนาดใหญ่ (ขนาด 7-8 กรัม) ให้ผสม 1 ต่อ 2 คือ นมผง 1 ช้อนต่อน้ำ 60 มิลลิลิตร หรือ 2 ออนซ์
            การผสมนมใน 2 ลักษณะข้างต้นนี้จะได้ส่วนผสมของนม โดย 1 ออนซ์จะให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี สิ่งสำคัญในการเตรียมนมผสม คือ เน้นความสะอาด ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการท้องเดินที่จะเกิดขึ้นได้
            การเตรียมที่ถูกต้องควรเริ่มตั้งแต่การล้างทำความสะอาดขวดนมและจุกนม ไม่ให้มีคราบนมติดขวด จากนั้นต้มขวดนมในน้ำเดือด นาน 5-10 นาที ส่วนจุกยางให้ต้มในน้ำเดือดไม่เกิน 5 นาที (เพราะถ้าต้มนานจะทำให้จุกยางเสื่อม) เมื่อจะผสมนมให้ใส่น้ำสุกอุ่นๆ ลงในขวดจนได้ปริมาณตามต้องการ แล้วตวงนมผงใส่ลงในขวด ปิดจุกขวดเขย่าจนนมผงละลายหมด การเตรียมนมผสมควรเตรียมมื้อต่อมื้อแล้วใช้ทันที หากยังไม่ได้ใช้ทันทีควรเก็บนมที่ผสมแล้วไว้ในตู้เย็น
5 .ใน 1 วัน ลูกน้อยควรได้รับอาหารอะไร จำนวนเท่าไร
เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรกำหนดตายตัวว่าลูกจะต้องได้รับอาหารแต่ละชนิดเป็นปริมาณเท่าไหร่ ลูกอาจจะทานอาหารได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่แนะนำได้ แต่ต้องไม่ต่างจากที่แนะนำมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามในระยะสองขวบปีแรกเด็กควรได้รับนมแม่ควบคู่ไปกับการาได้รับอาหารเสริมตามวัย
            เมื่อลูกน้อยมีอายุ 4-5 เดือน
            ควรได้รับอาหารทารกตามวัยเพิ่มจากนมแม่ เป็นพลังงานจากอาหาร 76-188 กิโลแคลอรี โปรตีน 1.2-4.1 กรัมต่อวัน
            ดังนั้น อาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับใน 1 วัน ได้แก่ ข้าวบดกับปลานึ่ง ประกอบด้วย ข้าวบด 3 ช้อนกินข้าว เนื้อปลา 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา
            หรือ ข้าวบดกับไข่แดง ประกอบด้วย ข้าวบด 3 ช้อนกินข้าว ไข่แดงต้มสุกครึ่งฟอง และน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา
            หรือ ฟักทองบดกับไข่แดง ประกอบด้วย ฟักทองบด 6 ช้อน กินข้าว ไข่แดงต้มสุกครึ่งฟอง และน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา
            หรือ กล้วยน้ำว้าครึ่งผล และไข่แดงครึ่งฟอง
          เมื่อลูกอายุ 6-8 เดือน
            ควรได้รับอาหารทารกตามวัยเพิ่มจากนมแม่ เป็นพลังงานจากอาหาร 269-371 กิโลแคลอรี โปรตีน 2.7-5.4 กรัมต่อวัน
            ดังนั้นอาหารที่ควรได้รับใน 1 วัน ได้แก่ อาหาร 2 มื้อ
            เช้า       ข้าวต้มปลาช่อนตำลึง
            บ่าย       มะละกอสุก 2-3 ช้อนกินข้าว
            เย็น       ข้าวต้ม + ไข่ตุ๋นแครอท
หรือ
            เช้า       ข้าวต้มตับไก่ใส่ตำลึง
            บ่าย       มะละกอสุก หรือมะม่วงสุก 2-3 ช้อนกินข้าว
            เย็น       ข้าวต้มตับไก่ใส่ตำลึง

เมื่อลูกอายุ 9-12 เดือน
            ควรได้รับอาหารทารกตามวัยเพิ่มจากนมแม่ เป็นพลังงานจากอาหาร 451-6545 กิโลแคลอรี โปรตีน 3.5-6.2 กรัมต่อวัน
            ดังนั้นอาหารที่ควรได้รับใน 1 วัน ได้แก่ อาหาร 3 มื้อ
            เช้า       ข้าวตุ๋น + ต้มจืดปลาใส่ตำลึงและฟักทอง
กลางวัน ข้าวตุ๋น + ต้มจืดปลาช่อนใส่ตำลึงและฟักทอง
            บ่าย       กล้วยน้ำว้าสุกครึ่งผล
            เย็น       ข้าวตุ๋น + ไข่คั่วตำลึง
            หรือ
            เช้า       ข้าวตุ๋น + แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ
            กลางวัน ข้าวผัดสามสี
            บ่าย       มะละกอสุก 2-3 ช้อนกินข้าว
            เย็น       ข้าวตุ๋น + แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ
            คุณแม่อย่าลืมว่าอาหารที่เตรียมให้ลูกควรจะต้องเป็นอาหารที่ทำเสร็จใหม่ๆ แต่ถ้าคุณแม่ไม่มีเวลาทำหลายๆ ครั้ง ก็จะต้องเก็บในตู้เย็น และอุ่นให้ลูกก่อนป้อน เพื่อป้องกันอาการท้องเสียนะคะ

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เสริมสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย

เสริมสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย


ตายแล้ว …. !!!
เสียงร้องอุทานของคุณแม่วัย 22 ปี ที่เข้าร่วมกิจกรรมเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับครอบครัวอื่น ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากประเด็นหัวข้อ “ลูกดื้อ ซน เอาแต่ใจ ทำอย่างไรดี?” เป็นความตกใจของคุณแม่ซึ่งคาดไม่ถึงกับวิธีการเลี้ยงดูลูก ที่เป็นการสร้างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้แก่เด็ก โดยการปล่อยให้ลูกดูแผ่นซีดีตลกซ้ำ ๆ ที่มีคำด่าและคำพูดหยาบคาย ไม่เหมาะกับวัยของเด็ก รวมถึงการปล่อยให้ลูกเล่นเกมจากโทรศัพท์มือถือ จนทำให้เด็กติดเกม โดยคิดไม่ถึงว่าจะส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของลูก

กระบวนการเรียนรู้ในหัวข้อเรื่องดังกล่าว มาจากการสะท้อนปัญหาการเลี้ยงลูกของครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัย 2-4 ปี ซึ่งพบว่าเด็กมักจะมีพฤติกรรมที่ต่อต้าน ดื้อ ซน และเอาแต่ใจตนเอง เมื่อเด็กไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการก็จะมีการแสดงพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ปกครองรู้สึกหงุดหงิดอารมณ์เสีย จากที่ต้องยอมตามใจเพื่อตัดความรำคาญในครั้งแรก ก็มักจะมีครั้งที่สอง..สาม ตามมาโดยตลอด และถ้าเมื่อใดสิ่งที่เด็กเคยได้แล้วไม่ได้ พฤติกรรมการเรียกร้องก็จะถูกพัฒนาให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากยืนร้องไห้นิ่ง ๆ ก็จะกลายเป็นส่งเสียงร้องกรี๊ด กระทืบเท้า ด่าและตีพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งลงนอนดิ้นพราด ๆ ให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถ้าผู้ใหญ่ไม่อดทนพอ ก็จะเกิดการปะทะอารมณ์กันขึ้น ถึงขั้นลงไม้ลงมือกันเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็จะกลายเป็นความรุนแรงของพ่อแม่ที่ปฏิบัติต่อลูก ถ้าพ่อแม่มีความรู้และเข้าใจในเรื่องพัฒนาการตามวัยของลูก ก็จะพบว่าการจัดการและรับมือกับพฤติกรรมของลูกไม่ใช่เรื่องยากเลย


พฤติกรรม ซน ดื้อ ก้าวร้าว ถือเป็นพัฒนาการปกติของเด็กช่วงปฐมวัย เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เป็นวัยชอบสำรวจ อยากรู้อยากเห็น เด็กมีพัฒนาการเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาการด้านสังคม มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เด็กอาจโมโหและอาละวาดได้ง่าย เพราะยังขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง ซึ่งอาจเป็นเพราะเด็กบางคนมีพื้นอารมณ์ที่เลี้ยงยาก และปัญหาพฤติกรรมที่มีผลมาจากการเลี้ยงดู เช่น การทอดทิ้งไม่เอาใจใส่ดูแลเด็ก การลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง การตามใจและยอมตามเด็กเสมอ การทะเลาะกันภายในครอบครัว การยั่วยุอารมณ์ให้เด็กโกรธ การไม่ถูกฝึกระเบียบวินัยในชีวิตประจำวัน หรือเด็กทำผิดแล้วผู้ใหญ่ให้ท้าย รวมถึงสื่อต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงเรื่องความรุนแรง รวมถึงการใช้อาวุธต่าง ๆ ตลอดจนชุมชนที่มีการใช้ความก้าวร้าว รุนแรง ให้เด็กเห็นอยู่เสมอ

การจัดกิจกรรมสร้างพื้นที่เรียนรู้สำหรับครอบครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก็เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กในการเสริมสร้างพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง ซึ่งได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสลุง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคันนาหิน องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสานรัก 1 (บ้านท่างาม) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกเครือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุ่มเม่า องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งครอบครัวได้นำเสนอปัญหาเพื่อเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และได้รับคำแนะนำวิธีจัดการปัญหาการเลี้ยงลูก ดังนี้

ปัญหาลูกดื้อ เอาแต่ใจตนเอง เจ้าอารมณ์ การเลี้ยงดูลูกของครอบครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งอยู่ในช่วงปฐมวัย เกิดจากการที่พ่อแม่รู้สึกหนักใจและไม่สามารถจัดการพฤติกรรมของลูกที่เป็นเด็กซน ดื้อ เอาแต่ใจตนเอง เจ้าอารมณ์ ไม่เชื่อฟัง และแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควร เช่น เมื่อต้องการเรียกร้องหรืออยากได้ขนม หรือของเล่น ของใช้ ถ้าไม่ได้รับการตอบสนอง ก็จะอาละวาด ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่ใช้วิธีจัดการลูกด้วยการตี เพื่อหยุดพฤติกรรม ซึ่งวิทยากรก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของเด็กว่า พ่อแม่ควรนิ่งเฉยขณะที่เด็กกำลังโกรธและอาละวาด จนเมื่อเด็กสงบลง จึงใช้การพูดคุยให้เหตุผล ใช้ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ เป็นพื้นฐานสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ควรมีการสร้างสายสัมพันธ์ สร้างสายใยที่ดีกับลูกเพื่อเป็นวัคซีนใจให้กับเด็ก ๆ เมื่อเด็กโตขึ้นเกิดปัญหาที่เขาไม่สามารถหาทางแก้ไขเองได้ เด็กจะกล้าที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ เพราะมีพ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ

ปัญหาการไม่เท่าทันต่อสื่อและเทคโนโลยี การเลี้ยงดูเด็กที่เกิดจากความไม่รู้ของผู้ปกครอง และมีผลให้เด็กเกิดการเลียนแบบ คือการปล่อยให้ลูกหลานอยู่กับสื่อโทรทัศน์ เกม คอมพิวเตอร์ มากเกินไป ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง ทำให้เด็กขาดทักษะทางสังคม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเด็กในวัย 0-5 ปี เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนา อยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้ จึงไม่ควรให้เด็กอยู่กับสื่อมากเกินไป ควรมีข้อตกลงกับเด็กในการกำหนดระยะเวลาในการดูโทรทัศน์ หรือหากิจกรรมอื่นมาให้เด็กทำร่วมกับคนในครอบครัว เช่น ทำงานบ้าน หรืออ่านนิทานด้วยกัน

ปัญหาการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว พูดจาไม่ไพเราะ และพูดคำหยาบ เวลาที่เด็กโกรธหรือไม่ได้ดั่งใจ ผู้ปกครองได้รับคำแนะนำในการแก้ไข โดยใช้การพูดคุยอธิบายถึงความไม่เหมาะสมให้เด็กได้รู้ ไม่ควรตำหนิดุว่าเด็ก เพราะคำบางคำเด็กไม่ได้รู้ความหมายแต่เป็นการจำจากคนอื่นแล้วนำมาใช้ เป็นการพูดเลียนแบบของเด็ก ถ้าหากเราตำหนิโดยไม่อธิบาย เด็กอาจจะไม่ใช้คำนั้นกับเราแต่อาจจะนำไปพูดกับคนอื่น

ปัญหาเด็กติดขวดนม ผ้าห่ม ได้มีการแนะนำให้ผู้ปกครองใช้การเข้าสังคมของเด็กเป็นตัวลดพฤติกรรมการติดสิ่งต่าง ๆ ให้ลดลง โดยให้เด็กได้เห็นแบบอย่างจากเพื่อนคนอื่น ๆ เช่น “ถามเด็กว่าไม่อายเพื่อนหรอ ถ้าเอาขวดนมไปโรงเรียน” ? ปัญหาเด็กไม่รู้จักการรอคอย ให้ใช้การอธิบายถึงเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องรู้จักการรอคอย ซึ่งพ่อแม่ต้องฝึกการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ให้แก่ลูกช้าลง เพื่อให้เด็กรอคอยเป็น เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวันที่กำลังรับรู้ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งผู้ใหญ่จำเป็นต้องช่วยบอก ช่วยสอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย

ปัญหาการร้องขอเงินเพื่อซื้อขนมของเล่นตลอดเวลา ผู้ปกครองมักตอบสนองเด็กโดยการจ่ายเงินซื้อสิ่งของตามที่เด็กร้องขอ จนเป็นผลทำให้เด็กทานขนมมากจนเกินไป และไม่ยอมทานข้าว วิทยากรจึงให้แต่ละครอบครัวคิดค่าใช้จ่ายค่าขนมของลูกในหนึ่งวัน ทำให้ผู้ปกครองได้พบว่าได้ใช้จ่ายเงินเรื่องการซื้อขนมให้ลูกเป็นเงินจำนวนมาก จึงได้มีการเสนอให้ครอบครัวลองทำบัญชีครัวเรือนค่าใช้จ่ายเฉพาะของลูก เพื่อจะนำมาสู่การแก้ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายของลูก และพ่อแม่ควรสร้างเงื่อนไขและต่อรองลูกบ้าง ไม่ใช่ยอมทำตามที่ลูกต้องการทุกอย่าง


นอกจากคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมลูกแล้ว วิธีการเสริมแรงทางบวกแก่เด็กก็เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ผู้ปกครองควรให้รางวัลตอบแทนเป็นคำชม การกอดสัมผัส แทนการให้รางวัลเป็นสิ่งของ เพราะจะกลายเป็นการให้สินบนลูก การให้คำชมจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าและความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งคำพูดของพ่อแม่มีอิทธิพลต่อจิตใจของเด็กเป็นอย่างมาก คำพูดที่ควรให้เป็นรางวัลแก่เด็ก ได้แก่ “แม่เชื่อว่าลูกแม่ทำได้”...... “แม่ภูมิใจในตัวลูกมากนะ”......“แม่รักลูกนะ” เป็นต้น
การฝึกลูกให้มีวินัย ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมพฤติกรรมตนเอง ผู้ปกครองสามารถทำได้โดยฝึกให้ลูกเรียนรู้กฏ กติกา และวินัย โดยเริ่มจากการสร้างกฎ กติกา ภายในครอบครัวก่อน เพื่อต่อไปเด็กจะสามารถเรียนรู้กฎกติกาใหม่ ๆ ในโรงเรียน และสังคมได้ง่ายขึ้น อาจจะเริ่มฝึกจากการกำหนดเวลาในการนอน กำหนดค่าขนมในหนึ่งวัน เพื่อให้เด็กรู้จักการทำตามข้อตกลงร่วมกันของคนในครอบครัว ซึ่งต้องทำซ้ำ ๆ ทำอย่างสม่ำเสมอ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งครอบครัว ควบคู่ไปกับสอนการคิดเชิงเหตุผลให้กับเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้น จะทำให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีระเบียบวินัยในตนเอง และควบคุมตนเองได้



โครงการฯ ขอขอบคุณวิทยากร คุณศศกร วิชัย นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการพิเศษ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และ ทพ.ญ.ชัญญา ธีระโชติ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ คุณคณางค์ กงเพชร คุณลานนิพนธ์ เกษลา และคุณชวลิต กงเพชร ทีมวิทยากรจากโครงการครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดกาฬสินธุ์


เรื่องและภาพ โครงการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชนบท มูลนิธิเด็ก

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กอายุ 0 - 1 ป
               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
               เด็กอายุ 2 - 3 ป
              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
                                                เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

การดูแลทารกแรกเกิด

 การดูแลทารกแรกเกิด
            แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างดียว ยังไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ เพราะว่า...........
       น้ำนมแม่อย่างดียวมากพอที่จะทำให้ลูกเจริญเติบโตเต็มที่ทั้งทางร่างกายและสมอง
       กระเพาะเด็กอ่อน มีขนาดเล็กอยู่แล้ว การกินน้ำและอาหารอื่นทำให้ลูกกินนมแม่ได้น้อย
      ลดโอกาศเกิดภูมิแพ้และการติดเชื้อที่ปนเปื้อนมากับน้ำและอาหารอื่น
      อาหารทารกตามวัย(6-12เดือน)     
อายุ
6เดือน
7เดือน
8-9เดือน
10-12เดือน
อาหาร
กินนมแม่และอาหาร1มื้อ ข้าวบดละเอียดกับน้ำแกงจืด สลับไข่แดง ปลา ตับ ผักบด และกล้วยสุกคูดหรือผลไม้
กินนมแม่และอาหาร1มื้อ ข้าวบดละเอียดกับน้ำแกงจืด เพิ่มไข่ทั้งฟอง ปลา เนื้อสัตว์บด ผักหั่น และผลไม้ กินนมแม่และอาหาร2มื้อ ให้อาหารเหมือน7เดือน แต่เพิ่มปริมาณให้มากขึ้น และอ่อนนุ่ม ข้นขึ้น กินนมแม่และอาหาร3มื้อ ให้อาหารเหมือนเดือน
ก่อนๆแต่เพิ่ม ปริมาณมากขึ้น ให้อาหารหลากหลายชนิด และอาหารเริ่มหยาบ และเพิ่มชิ้นเล็กๆ
ข้าว

ข้าวบดละเอียด3ช้อนกินข้าว

ข้าวบด4ช้อนกินข้าว

ข้าวหุงนิ่มๆ 5ช้อนกินข้าว

ข้าวหุงนิ่มๆ 5ช้อนกินข้าว
ไข่

ไข่แดงครึ่งฟอง

ไข่ทั้งฟอง

ไข่ทั้งฟอง

ไข่ทั้งฟอง
เนื้อสัตว์
ผัก

ผักหั่น 1 1/2ช้อนกินข้าว

ผักหั่น 2ช้อนกินข้าว

ผักหั่น 2ช้อนกินข้าว
ผลไม้

     คำแนะนำการให้อาหารทารกตามวัย
  หลัง 6 เดือนน้ำนมแม่ยังมีคุณภาพดี แต่ปริมาณไม่มากพอต่อการเติบโตของลูก จึงจำเป็นต้องให้อาหารทารกอย่างเพียงพอ ควบคู่กับการกินนมแม่ เพื่อป้องกันการขาดอาหาร
  ฝึกนิสัยการกินที่ดีให้กับลูกโดยให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลากหลายชนิด และปรุงจากอาหารสดธรรมชาติหาได้ในท้องถิ่น
  สร้างบรรยากาศให้ลูกอยากกินอาหารมากกว่าการบังคับ และป้อนให้เป็นเวลาอย่าป้อนจุบจิบ