วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมองของลูก ทำงานตั้งแต่แรกเกิด

baby
          รับรู้ความรู้สึก การทำงานของสมองทำให้เรารับรู้การสัมผัสในลักษณะต่าง ๆ สัมผัสอย่างเบา ๆ หรือสัมผัสอย่างรุนแรง ความรู้สึกอุณหภูมิร้อนเย็น หรือความรู้สึกจากร่างกายและใบหน้าทางซีกซ้าย

          ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในทารกแรกเกิด 1-2 เดือนการทำงานพื้นฐานของกล้ามเนื้อจะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ จะไม่ไขว่คว้าของเล่นแต่จะเคลื่อนไหวแขน ขา มือ เท้า ซึ่งเป็นการทำงานของสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และสมองส่วนเบซาลแกงเกลีย เมื่อเด็กโตขึ้นสมองส่วนหลังของฟรอนทอลโลบที่ติดกับพาราทอลโลบ จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกายให้เป็นไปอย่างมีวัตถุประสงค์และสัมพันธ์กับการเห็น เช่น สั่งให้ยกมือขึ้นไปจับของเล่น เป็นต้น

          การมองเห็น การทำงานของสมองส่วนนี้อาศัยการมองเห็นภาพและนำไปสู่สมองด้วยเส้นประสาทตา ต่อจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็นหรือออกซิปิทอลโลบ ซึ่งอยู่ด้านหลังของสมองใหญ่จะพัฒนาโครงสร้างที่จะตอบรับภาพและแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย แต่ถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาเป็นภาพที่เกี่ยวกับอารมณ์ สมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์หรือลิมบิกเบรนก็จะทำหน้าที่ หรือถ้าเป็นภาพที่ค่อนข้างจะคงที่และสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่สายตาโดยตรงก็จะทำงานโดยสมองอีกส่วนหนึ่งคือ อาร์เบรน

          การได้ยิน สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินคือเทมเพอราลโลบ สามารถตอบสนองต่อคลื่นเสียงต่างๆ ที่เข้ามาถึงตัวเราด้วยการอาศัยความช่วยเหลือจากนีโอคอร์เทกซ์ แปลคลื่นเสียงออกมาโดยตรง จากการวิจัยพบว่าเด็กที่มีแม่หรือพี่เลี้ยงพูดเก่ง มีแนวโน้มว่าเด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ได้มากกว่าเด็กที่มีแม่หรือพี่เลี้ยงที่พูดไม่เก่ง เนื่องจากเซลล์ประสาทในสมองส่วนนี้ได้รับข้อมูลและมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อมูลที่ได้รับต้องเป็นเสียงที่มีความหมาย เด็กจะรับจากภายนอกแล้วเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าในเซลล์ประสาทเก็บไว้เป็นข้อมูล

          การได้กลิ่น เด็กแรกเกิดสามารถแยกแยะความแตกต่างของกลิ่นนมแม่ตัวเองกับแม่คนอื่นได้ กลิ่นจะเข้าไปในสมองโดยผ่านเส้นประสาทโอลแฟกตอรี่(olfactory nerve)ไปที่สมองส่วนหน้าฟรอนทอลโลบ ซึ่งเป็นสมองส่วนเดียวกับที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์

          ระบบประสาทอัตโนมัติ สมองยังทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วยประสาท 2 ส่วนที่เรียกว่า ซิมพเทติก(Sympathetic)และพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และ ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย

          สิ่งสำคัญที่สุดในการเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่อยู่ที่การให้ประสบการณ์ที่ดีในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิตเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก เพราะสมองของเด็กตั้งแต่หลังคลอดจะมีน้ำหนักเกือบเท่าสมองของผู้ใหญ่ พ่อแม่มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการของสมองในเด็กได้ถ้าเขาได้รับสิ่งที่ดี เช่น การสัมผัสที่อ่อนโยน การโอบกอด ป้อนนม การพูดคุย อ่านนิทาน เรื่องโปรดให้เด็กฟัง ทุกสิ่งที่ได้ทำนั้นจะช่วยให้สมองของเด็กมีการพัฒนาการไปอย่างรวดเร็วมาก

          ในทางตรงกันข้าม ถ้าในช่วงวัยเด็กเล็กนี้เด็กได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม เช่น อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี มีการพูดคุยด้วยคำที่ไม่สุภาพ หรือพ่อแม่ระบายอารมณ์กับเด็กบ่อยๆ ย่อมทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้น ขาดความอบอุ่น และพยายามแสวงหาสิ่งอื่นมาทดแทนตอนโตต่อไป ซึ่งอาจจะทำให้กลายเป็นเด็กก้าวร้าวในอนาคตได้ค่ะ

          อย่าลืมว่าเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้านะคะ เพราะฉะนั้นมาดูแลสมองของลูกให้ได้เรียนรู้แต่สิ่งที่ดีตั้งแต่เล็กกันเถอะค่ะ


"สมอง"ของลูกทำงานตั้งแต่แรกเกิด  (รักลุก)


          สมอง จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะสมองมีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ พฤติกรรมและอีกหลาย ๆ อย่าง สมองของคนเราทำงานโดยเครือข่ายเส้นใยประสาทของกลุ่มเซลล์ประสาท การทำงานในกลุ่มเซลล์ประสาทแต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกัน ลองมาดูบทบาทหน้าที่ของสมองกันบ้างนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น